วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทที่1 บทนำ

ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
           ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดหาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการทำงานและยังสามารถนำสารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือหรือMIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์ การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ตั้งแต่การใช้งานส่วนบุคคล กลุ่ม องค์การ และระหว่างหน่วยงาน MIS ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ


สรุปความหมายตามความเข้าใจ
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดหาคน ในการดำเนินงานขององค์กร ช่วยเหลือกิจกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงาน และยังช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร รวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งการเก็บข้อมูล การประมวลผล และการสร้างสาระสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ช่วยแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยากซับซ้อน และสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจ 


คุณลักษณะที่ดีของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1.ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการทำงาน
2.บุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ MIS เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาและการใช้งานสารสนเทศทั่วองค์การ ตลอดจนการขยาย ตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศและการปรับรูปของระบบงานอย่างต่อเนื่อง
3.การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายขององค์การมากขึ้น
4.ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.สร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ

เหตุใดผู้บริหารจึงควรศึกษาเรื่องของระบบสารสนเทศ
              มีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยเป็นข้อมูลที่มีองค์ประกอบทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางกลยุทธ์นโยบาย ยุทธวิธี ปัญหาเฉพาะหน้า และการควบคุม EIS เน้นการแสดงกราฟิกและง่ายต่อการใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ พวกเขามีการรายงานที่แข็งแกร่งและเจาะลึกลงความสามารถในการ โดยทั่วไป EIS เป็น DSS ทั่วทั้งองค์กรที่จะช่วยให้ผู้บริหารระดับบนสุดวิเคราะห์เปรียบเทียบและเน้นแนวโน้มในตัวแปรที่สำคัญเพื่อให้พวกเขาสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานและระบุโอกาสและปัญหา EIS และข้อมูลเทคโนโลยีคลังสินค้าจะมาบรรจบกันในตลาด ในปีล่าสุด EIS ระยะได้สูญเสียความนิยมในความโปรดปรานของระบบธุรกิจอัจฉริยะ


ประโยชน์ที่ผู้บริหารจะได้รับ
            1.เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต
            2. นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
            3. สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากข้อมูล ถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถจะเข้าถึงข้อมูล ได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ทันต่อความต้องการ
            4. ช่วยในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผล เพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
            5. สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ มี 5 ส่วน ดังนี้
            1. บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้ายขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขายเป็ฯส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ
            2. ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล และ การทำรายงาน เป็นต้น
การดำเนินงานต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหา ระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนล้วนมีผลต่อระบบสารสนเทศด้วยเช่นกัน
            3. ฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการหรือประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศ
            4. ซอฟต์แวร์ คือ ลำดับขั้นตอนที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึง ชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอน (โปรแกรม) เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานและประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เราต้องการ
            5. ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถาบันการศึกษามักจะต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งทีทำให้เกิดสารสนเทศ

มุมองของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Dimensions of Information Systems)
Organizations 
           องค์กรมีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยระดับและความพิเศษที่แตกต่างกันโครงสร้างของพวกเขาเปิดเผยการแบ่งงานชัดเจน  อำนาจและความรับผิดชอบในบริษัท ธุรกิจมีการจัดระเบียบเป็นลำดับชั้น หรือโครงสร้างพีระมิด  ระดับบนของลำดับชั้นประกอบด้วย ผู้จัดการ, พนักงานมืออาชีพ,พนักงานด้านเทคนิค,ในขณะที่ระดับล่างประกอบด้วยบุคลากรที่ปฏิบัติงาน

Management 
           การจัดการคือการทำให้รู้สึกจากหลาย ๆ สถานการณ์ที่องค์กรต้องเผชิญ ตัดสินใจและกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาขององค์กร ผู้จัดการกำหนดกลยุทธ์องค์กรเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายสิเหล่านั้น; และจัดสรรทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางการเงินเพื่อประสานงานและประสบความสำเร็จตลอดจนพวกเขาต้องเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ

Information technology (IT) 
            เทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT ) โครงสร้างพื้นฐานหรือแพลตฟอร์มพื้นฐานที่ บริษัท สามารถสร้างระบบสารสนเทศเฉพาะได้

Computer hardware 
             ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คือ อุปกรณ์ทางกายภาพที่ใช้ป้อนข้อมูล ประมวลผล และเอาต์พุต กิจกรรมในระบบสารสนเทศ ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดและรูปทรงต่าง ๆ  (รวมถึงอุปกรณ์มือถือมือถือ);อุปกรณ์อินพุต, เอาต์พุตและอุปกรณ์จัดเก็บต่าง ๆ และอุปกรณ์โทรคมนาคมที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ด้วยกัน.

Computer software 
              ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยรายละเอียด, คำแนะนำโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีการควบคุม และประสานงานคอมโพเนนต์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ

Data management technology 
              เทคโนโลยีการจัดการข้อมูลประกอบด้วยซอฟต์แวร์การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลทางกายภาพสื่อ, ข้อมูลองค์กรและวิธีการเข้าถึง

Networking and telecommunications technology 
              ระบบเครือข่ายและการสื่อสารโทรคมนาคมเทคโนโลยีประกอบด้วยอุปกรณ์ทั้งทางกายภาพและซอฟแวร์, การเชื่อมโยงชิ้นส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์และการถ่ายโอนข้อมูลจากที่หนึ่งสถานที่ทางกายภาพไปยังอีก คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารสามารถเชื่อมต่อได้เครือข่ายสำหรับแบ่งปันข้อมูลเสียงภาพเสียงและวีดีโอ

            เห็นด้วย เพราะระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีเนื้อหาที่กว้างและครอบคลุมมากกว่า เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับพวกองค์กร การจัดหาคนในการดำเนินงานขององค์กร โดยมีการรวมความรู้ความสามารถของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อทำการสร้างสาระสนเทศในการตัดสินใจขององค์กร และยังมีส่วนประกอบสาระสนเทศที่สำคัญ คือ บุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูล  หากขาดส่วนประกอบใดหรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์

ประเภทของสารสนเทศแบ่งตามระดับการจัดการ
1. ระดับสูง (Top Level Management) 
            กลุ่มของผู้ใช้ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับ ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย  โดยมีทั้งสารสนเทศภายใน และสารสนเทศภายนอก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยรวม ซึ่งระบบสารสนเทศในระดับนี้ต้องออกแบบให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟฟิกบ้าง ต้องตอบสนองที่รวดเร็วและทันท่วงทีด้วยเช่นกัน

2. ระดับกลาง  (Middle Level Management) 
            เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและจัดการองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง นำมาสานต่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้ค่าทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทำนายทิศทางไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีความซับซ้อนหรือยุ่งยากมากเกินไป

3. ระดับปฏิบัติการ (Operation Level Management) 
            ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้การวางแผนหรือระดับการตัดสินใจมากนัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไปประมวลผลในระดับกลางและระดับสูงต่อไป



กระบวนการธุรกิจ (Business Process)
            คือ ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเงินมาลงทุนกิจการเพื่อใช้เป็นค่าเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าแรง ตลอดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานต่างๆ แล้วทำการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออกไป เพื่อให้ได้มาซึ่งรายรับแก่ธุรกิจ หลังจากนั้นจึงนำไปหักค่าใช้จ่ายเพื่อดูผลได้สุทธิว่าได้กำไร


ตัวอย่างด้านการขาย
            ธุรกิจร้านเสื้อผ้า เริ่มตั้งการนำเงินมาลงทุนซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุในการทำเสื้อของทางร้านเปิดรับสมัครพนักงานที่มีทักษะในการตัดเย็บเสื้อ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน ทำการตัดเย็บเสื้อตามรูปแบบของทางร้านเพื่อทำการวางจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค หลังจากนั้นจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำการหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อหาผลกำไรและขาดทุนของทางร้าน

ระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย
1. ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
2.สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
3.การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ

             การทำงานร่วมกัน (Collaboration)  คือการร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน เป็นกระบวนการที่วนเกิดขึ้นซ้ำ ๆระหว่างกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างข้อตกลง ตัดสินใจ แก้ไขปัญหาร่วมกัน อีกทั้งยังมีการร่วมใจ ทัศนคติ ความตั้งใจ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานร่วมกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกันการทำงานร่วมกันทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแชร์และเป้าหมายที่ชัดเจน การทำงานร่วมกันเน้นภารกิจหรือภารกิจความสำเร็จและมักจะเกิดขึ้นในธุรกิจหรืออื่น ๆองค์กรและระหว่างธุรกิจ

             เครือข่ายสังคมธุรกิจ (Social Business) คือธุรกิจเพื่อสังคม - การใช้แพลตฟอร์มเครือข่ายทางสังคม,
รวมทั้ง Facebook, Twitter และสังคมภายในองค์กรเครื่องมือเพื่อดึงดูดพนักงานลูกค้าของพวกเขาและ
ซัพพลายเออร์ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้คนงานสามารถตั้งค่าโปรไฟล์,กลุ่มแบบฟอร์มและ "ติดตาม" การอัพเดตสถานะของกันและกัน เป้าหมายของธุรกิจเพื่อสังคมคือการเพิ่มความสัมพันธ์กับกลุ่มภายในและภายนอก บริษัท เพื่อเร่งรัดและเพิ่มการแบ่งปันข้อมูลนวัตกรรมและการตัดสินใจ

มีการจัดแบ่งกลุ่มของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ดังนี้
Social networks  เชื่อมต่อผ่านโปรไฟล์ส่วนบุคคลและธุรกิจเครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคมเป็นการบริการที่เชื่อมโยงคนหลายคนเข้าไว้ด้วยกันผ่านอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแชท ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก ตัวอย่างของ Social Network ได้แก่ Facebook Twitter Hi5 Blogger เป็นต้น

Crowsourcing  ใช้ความรู้โดยรวมเพื่อสร้างแนวคิดและแนวทางใหม่ ๆการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่  เป็นการทำงานที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนจำนวนมาก เกิดจากการที่เรามีไอเดียหรือปัญหาที่ยากจะทำสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว โดยอาจจะขาดเงินทุนสนับสนุน หรือแรงงานที่จะช่วยในการทำให้สำเร็จ เราก็สามารถแบ่งงานเหล่านั้นออกเป็นชิ้นเล็กๆ และกระจายให้กลุ่มคนหลายๆ คนทำพร้อมๆ กัน ให้เขาแก้ปัญหาเล็กๆ ให้เรา เมื่อทุกคนต่างทำงานเล็กๆ ของตนสำเร็จแล้ว ก็หมายถึงว่างานชิ้นใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากงานชิ้นเล็กๆ เหล่านั้นก็จะประสบความสำเร็จไปด้วย

Shared workspaces ประสานงานโครงการและงานสร้างเนื้อหาร่วมกันคือการที่กลุ่มคนจากต่างสาขาอาชีพมารวมตัวกันและทำงานในพื้นที่เดียวกัน การทำงานในลักษณะนี้แตกต่างจากการทำงานในบริษัทหรือองค์กรโดยทั่วไป ก็คือ ทุกคนต่างคนต่างทำงานของตัวเอง เพียงแต่แบ่งปันพื้นที่ในการทำงานร่วมกันเท่านั้น การรวมตัวกันในพื้นที่ทำงานชั่วคราวแล้ว ยังอาจหมายถึงชุมชนย่อม ๆ ที่เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันของคนทำงานจากหลายสาขาอาชีพได้อีกด้วย

Blogs and wikis เผยแพร่และเข้าถึงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว หารือเกี่ยวกับความคิดเห็นและประสบการณ์
            -Blog เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงค์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่าง ๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอเป็นที่ ๆ บอกเล่าประสบการณ์ หรือความคิดของผู้เขียนมักจะมีเจ้าของblogเพียงคนเดียว บล็อคจะมีเนื้อหาคลอบคลุมไปด้านใดด้านหนึ่งที่ผู้เขียนบล็อคนั้นสนใจ โดยผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีพื้นที่ไว้สำหรับบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ งานอดิเรก หรือสิ่งที่ชื่นชอบให้แก่ผู้อื่นฟัง และสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เข้ามาอ่านเรื่องราวของเราได้    
            -Wiki เป็นสังคมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ผู้เข้ามาใช้งานสามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้ทุกเวลา wiki เป็นเหมือนคลังความรู้ออนไลน์ ที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมความรู้จากผู้รู้ หลายคน มาเก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน ซึ่งผู้ใช้งานรายอื่น ๆ สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้  แต่แสดงความคิดเห็นไม่ได้ วิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน

Social commerce แชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อหรือซื้อบนแพลตฟอร์มโซเชียล Social Media ในมุมมองที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce การแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับการซื้อบนแพลตฟอร์มของสังคมออนไลน์หรือการทำธุรกิจโดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Social Activity บนโลกออนไลน์ Social Commerce เป็นธุรกรรมเชิงพาณิชย์ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย

File sharing อัพโหลดแชร์และแสดงความคิดเห็นในรูปภาพวิดีโอเสียงข้อความเอกสาร ระบบการแชร์ไฟล์บน Windows ที่จะทำให้เราสามารถแชร์ไฟล์ต่าง ๆ อัพโหลด และแบ่งปันการใช้งานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเอกสาร รูปภาพ วีดีโอ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ถูกเก็บไว้จากศูนย์กลางที่เดียว คอยให้บริการกับ Client User เข้าไปใช้งานโดยที่ไม่ต้องเก็บไว้กับเครื่องตนเอง และยังสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์หรือโฟลเดอร์เหล่านั้นได้อีกด้วย

Social marketingใช้โซเชียลมีเดียเพื่อโต้ตอบกับลูกค้า ได้รับมาการตลาดรูปแบบนี้คือการสร้างสรรค์สังคม หรือการแบ่งส่วนของผลประกอบการเข้าเพื่อเข้าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรอบทั้งในถิ่นที่ตั้งอยู่หรือแม้กระทั้งสังคมโลกก็ตาม การทำการตลาดบนสื่อออนไลน์ คนส่วนใหญ่จะเข้าถึงได้ง่าย การเข้าถึงกลุ่มบุคคลที่สนใจในตัวสินค้าหรือบริการแบบตัวต่อตัว โดยที่เจ้าของกิจการสามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลผ่านทาง Social Media ได้เหมือนผู้ซื้อได้พูดคุยสอบถามข้อมูลกับเจ้าของร้านโดยตรงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

Communities อภิปรายหัวข้อในเรื่องการเปิดฟอรัม แบ่งปันความรู้ความชำนาญ
ธุรกิจจะได้ประโยชน์ดังนี้
•ด้านผลผลิต คนที่มีปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกันสามารถจับภาพความรู้และผลผลิตของผู้เชี่ยวชาญได้ แก้ปัญหาได้เร็วกว่าจำนวนคนที่ทำงานแยกกัน จะมีข้อผิดพลาดน้อยลง
•ด้านคุณภาพ คนที่ทำงานร่วมกันสามารถแจ้งข้อผิดพลาดและแก้ไขคุณภาพได้การกระทำได้เร็วกว่าถ้าพวกเขาทำงานแยกกัน ทำงานร่วมกันและใช้เทคโนโลยีทางสังคมช่วยลดความล่าช้าในการออกแบบและผลิต
•ด้านนวัตกรรม คนที่ทำงานร่วมกันสามารถเกิดแนวคิดใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ผลิตภัณฑ์บริการและการบริหารจัดการมากกว่าจำนวนเดียวกันการแยกกันทำงาน ข้อดีของความหลากหลายและภูมิปัญญาของฝูงชน "
•ด้านการบริการลูกค้า คนที่ทำงานร่วมกันโดยใช้ความร่วมมือและเครื่องมือทางสังคมสามารถแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนและปัญหาของลูกค้าที่ให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่ากรณีที่พวกเขากำลังทำงานแยกออกจากกัน ประสิทธิภาพทางการเงิน
 •ด้านประสิทธิภาพทางการเงิน  การทำกำไร การขาย การเติบโตของยอดขาย
อันเป็นผลมาจากทั้งหมดข้างต้น บริษัท ที่ทำงานร่วมกันมียอดขายที่เหนือกว่ายอดขาย ความสามารถในการทำกำไรการขายและการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพทางการเงิน


วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 2 แบบฝึกหัด

คำถามทบทวน บทที่ 2

1.ให้นิยามความหมายของ "องค์กร" และเปรียบเทียบคำจำกัดความด้านเทคนิค กับคำจำกัดความด้านพฤติกรรม ของคำว่า "องค์กร"
ตอบ 

ความหมายขององค์กร
            องค์กร หมายถึง การนำเอาส่วนต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกันมารวมกันอย่างมีระเบียบ หรือเป็นการรวมกลุ่มกันอย่างมีเหตุผลของบุคคลกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการให้การดำเนินงานลุล่วงไปตามป้าหมายที่กำหนดไว้  โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่ลำดับขั้นตอนของการบังคับบัญชา และความรับผิดชอบ
คำจำกัดความด้านเทคนิค
            คือเอกสารซึ่งกล่าวถึงความประสงค์ ความต้องการของผู้ออกแบบ เจ้าของงาน หรือเจ้าของโครงการ เพื่อสื่อสารไปยังบุคลากรผู้ที่เกี่ยวข้องในงานต่าง ๆ เช่น งานก่อสร้าง งานผลิต งานพัฒนาซอฟต์แวร์ ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนด ขอบเขตงาน อธิบายคำจำกัดความ นิยามที่ใช้ในงานนั้น มาตรฐานที่ต้องการให้ใช้ ชนิด ขนาด และรายละเอียดของวัสดุ เครื่องจักร เครื่องมือ ตลอดจนถึงวิธีการก่อสร้างหรือวิธีการดำเนินงาน รวมถึงคุณภาพของฝีมือ แรงงาน ความละเอียดและถูกต้องในงานนั้น
คำจำกัดความด้านพฤติกรรม
            พฤติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ

2. อธิบายว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์กรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และอธิบายว่าการนำระบบสารสนเทศมาใช้มีผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร
ตอบ

            เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถนำมาประยุกต์เพื่อสร้างเป็นระบบสารสนเทศสำหรับงานด้านต่าง ๆ ภายในองค์กรได้อย่างมากมาย ระบบงานภายในองค์กรซึ่งอยู่ในที่นี้จะกล่าวถึง คือ ระบบงานทางธุรกิจทั่วไปที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ต้องดำเนินการ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน ระบบสินค้าคงคลัง และระบบบัญชี เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์กรมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพมากขึ้น

- สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร (Business Environment Impact) ในบางครั้งประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรมิได้เกิดจากภายในขององค์กรเอง
- ความกดดันของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร เมื่อมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การคำนึงถึงความรวดเร็วในการทำงาน ไม่ทำงานล่าช้าสามารถแข่งขันกับคู่ค้าได้
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมีอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้องค์กรประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องมีการปรับตัวหรือมีความคล่องตัว

3. เหตุใดจึงเกิดการต่อต้านของคนในองค์กรต่อระบบสารสนเทศ และผู้บริหารต้องทำอย่างไรจึงจะออกแบบระบบและนำระบบมาใช้ให้เกิดความสำเร็จ
ตอบ
-           สภาพแวดล้อมในการที่องค์กรจะต้องทำงาน
-           โครงสร้างขององค์กร: ลำดับชั้นความเชี่ยวชาญ
-           งานประจำ และธุรกิจกระบวนการ องค์กร วัฒนธรรมและการเมืองประเภทขององค์กรและลักษณะของของ
-           ความเป็นผู้นำกลุ่มผลประโยชน์หลักที่ได้รับผลกระทบ โดยระบบและ
-           ทัศนคติของแรงงานที่จะใช้ระบบประเภทของงาน ตัดสินใจ และกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นระบบสารสนเทศที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือ

4. อธิบายว่าแรงผลักดันในการแข่งขัน ของ Porter's competitive forces model และระบบสารสนเทศมีบทบาทต่อลยุทธ์การบริหารอย่างไร
ตอบ
1. แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายเดิมในอุตสาหกรรม (rioalry among existing firms)
การวิเคราะห์คู่แข่งขันรายเติมในตลาดนั้นเป็นการประเมิน ความรุนแรงจากจํานวนคู่แข่งขัน โดยประเมินกลยุทธ์ทางด้านการ ตลาดของคู่แข่งขันในตลาดปัจจุบันว่ามีความน่ากลัวมากน้อยเพียง ใต วิธีการประเมินคู่แข่งขัน (competitors analysis) ใน อุตสาหกรรมเติมมี 3 ขั้นตอนดังนี้ (ปรับปรุงมาจาก Kotler 8 Amstrong. 2002, 682)
1.1 ศึกษาข้อมูลของคู่แข่งขันในตลาดว่าเป็นใครบ้าง ทั้งคู่แข่งทางตรง (คือกลุ่มสินค้าที่มีคุณสมบัติและราคาใกล้เคียง กับสินค้าของบริษัท) และคู่แข่งทางรอง (คือกลุ่มสินค้าที่มี คุณสมบัติใกล้เคียงแต่มีราคาที่สูงกว่าหรือต่ํากว่าของบริษัทมากแต่ ใช้ทดแทนสินค้าของบริษัทได้)
12 การวิเคราะห์คู่แข่งและเลือกบริษัทที่จะทําการ แข่งขันจากข้อ 1.1 เพียง 1-2 บริษัทเท่านั้นหากชนะด้วยยอดขาย ค่อยเพิ่มจํานวนคู่แข่ง
1.3 กําหนดกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันกับบริษัทที่เลือกมา พิจารณากลยุทธ์ทางการตลาด และคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ โดย ต้องพัฒนาให้เหนือกว่าคู่แข่งขันและวางกลยุทธ์ป้องกันการตาม ทันจากคู่แข่งขัน
2. แรงกดดันของการเข้ามายังอุตสาหกรรมของ คู่แข่งขันรายใหม่ (new entrants)
อุตสาหกรรมใดที่มีความสามารถในการทํากําไรได้มาก หรืออุตสาหกรรมใดที่เงินลงทุนไม่มาก หรืออุตสาหกรรมใดที่มี ระยะเวลาในการคืนทุนสั้น ย่อมเกิดแรงดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามา ในอุตสาหกรรมนั้นๆ จํานวนมากราย ผู้ที่มีเงินทุนตามกําลังก็ สามารถทําได้ ตัวอย่างธุรกิจที่มีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาใน อุตสาหกรรมง่าย เช่น ธุรกิจอาหาร ธุรกิจสินค้าฟุ่มเฟือย และ ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นต้น ส่วนธุรกิจที่มีการกีดกันคู่แข่งขันรายใหม่ นั้นส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่มีเงื่อนไขบังคับทางกฎหมาย หรือขั้นตอน ในการดําเนินธุรกิจหลายขั้นตอน ต้องมีการขออนุญาตจากทางการ หรือเป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุนจํานวนมาก หรือเป็นธุรกิจที่มีกําไรน้อย ตัวอย่างธุรกิจที่คู่แข่งรายใหม่เข้าในอุตสาหกรรมยาก เช่น ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งก่อนทําการก่อสร้างต้องขออนุญาตก่อสร้าง อาคารในพื้นที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เป็นต้น
3. แรงกดดันของสินค้าnonnu (substitute)
ในอุตสาหกรรมหากมีสินค้าที่ทตแทนจํานวนมากจะส่งผล ต่อการทํากําไร ไม่สามารถตั้งราคาที่สูงได้ ความเสี่ยงต่อยอดขาย ที่ตกลงเป็นไปได้สูง เช่น กรณีของลูกอมเม็ตแข็ง ซึ่งมียอดตกลง อันเนื่องมาจากสินค้าทดแทนเช่น หมากฝรั่ง ลูกอมเม็ตนิ่ม ลูกอมแก้ไอ เป็นต้น
4. แรงกดดันจากอํานาจการต่อรองของผู้ซื้อ (buyers)
ปัจจุบันเป็นยุคของข่าวสาร ทําให้ผู้บริโภคมีอํานาจในการ ต่อรองสูงเนื่องจากผู้บริโภคมีขั้นตอนการหาข้อมูลและประเมินทาง เลือกสินค้าก่อนการตัดสินใจซื้อหลายช่องทาง หากสินค้าของ บริษัทที่ขายในตลาดไม่มีความแตกต่างกับคู่แข่ง ย่อมทําให้เสีย เปรียบทางการแข่งขันและโอกาสในการสร้างกําไรจะต่ํา ในยุคที่ เรียกว่า เครือข่ายทางสังคม (Social Network) นั้น ผู้บริโภค สามารถสื่อสารอย่างมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) สื่อสารไปมาผ่าน สื่อได้ (medium) หรือซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ทันที (real time) (Arvind Schay, 1998, อ้างถึงใน ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ, 2544)
5. แรงกดดันจากอํานาจการต่อรองของผู้จัดส่งวัตถุดิบ (suppliers)
หากสินค้าของบริษัทมีตัวแทนในการจัดส่งวัตถุดิบจํานวน น้อยราย ย่อมทําให้เกิดข้อเสียเปรียบทางการแข่งขันได้ ยิ่งถ้าผู้จัด ส่งวัตถุดิบสามารถเพิ่มราคาผลิตภัณฑ์ หรือสติคุณภาพได้เช่น ธุรกิจฟาร์มสุกร ผลกําไรของการขายสุกรนอกจากเกี่ยวข้องกับ ปัจจัยของราคาตลาดแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับอาหารที่ให้ในแต่ละมื้อ หากผู้เลี้ยงมีทางเลือก ผู้ขายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์จํานวนน้อยราย หรือผู้ขายอาหารสัตว์เพิ่มราคาย่อมส่งผลต่อความสามารถในการ ทํากําไรของฟาร์มสุกร หรือหากผู้ขายอาหารสัตว์ลตหรือเปลี่ยน วัตถุดิบในอาหารสัตว์ย่อมมีผลต่อการเติบโตของสุกรส่งผลต่อ ความเสี่ยงเรื่องโรค และยอดขายในอนาคต เป็นต้น เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใตความเสี่ยงที่เกิดจากผู้จัดส่งวัตถุดิบ เกิตได้ตลอดเวลา ผู้ประกอบการต้องมีการวางแผนเพื่อซื้อวัตถุดิบ ไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อป้องกันความเสียหายในอนาคต

5. กลยุทธ์การแข่งขันขององค์กรมีกลยุทธ์อะไรบ้าง และระบบสารสนเทศมีส่วนสนับสนุนแต่ละกลยุทธ์อย่างไร
ตอบ
            กลยุทธ์ (Strategy) เป็นรูปแบบของการปฏิบัติและการจัดสรรพทรัพยากรที่ออกแบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  การกำหนดกลยุทธ์ในทุกระดับต้องพิจารณา ถึงภารกิจ (Mission) ขององค์การ  และผลลัพธ์ จากการวิเคราะห์สถานการณ์ กลยุทธ์ขององค์การประกอบด้วยการกำหนดกลยุทธ์ 3 ระดับ คือ
            1)  การพัฒนากลยุทธ์ระดับบริษัท (Developing corporate-level strategy) กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate strategy) เป็นการกำหนดลักษณะทั้งหมดและจุดมุ่งหมายขององค์การ กำหนดผลิตภัณฑ์ธุรกิจที่จะเพิ่มเข้ามา หรือเลิกกระทำ ตลอดจนกำหนดทรัพยากรที่จะใช้ภายในธุรกิจ
            ก.   กลยุทธ์หลัก (Grand strategy) เป็นกลยุทธ์ทั่วไปเพื่อความเข้าใจในการกำหนดการปฏิบัติที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมายในระยะยาว ซึ่งประกอบด้วย
                1) กลยุทธ์การเจริญเติบโต
                2) กลยุทธ์ความคงที่
                3) กลยุทธ์การตัดทอนให้น้อยลง
            ข.   กลยุทธ์การจัดสรรทรัพยากร (Portfolio strategy) เป็นการค้นหาส่วนประสมของการลงทุนที่ดีที่สุดจากบรรดาโอกาสที่เป็นทางเลือกของธุรกิจ หรือเป็นกลยุทธ์ในระดับบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และตำแหน่งของแต่ละหน่วยธุรกิจ เพื่อสร้างส่วนประสมที่สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การให้ได้ดีที่สุด
            2)  การพัฒนากลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ (Developing business-level strategy) หมายถึง การค้นหาวิธีการแข่งขันของแต่ละบริษัทหรือแต่ละหน่วยธุรกิจ โดยทั่วไปจะใช้วิธีการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งประกอบด้วย การสร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน มี 3 โมเดล คือ โมเดลการปรับตัว กลยุทธ์การแข่งขัน และโมเดลวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
            3)  การพัฒนากลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Developing functional-level strategy) เป็นกลยุทธ์องค์การ ระดับที่ 3 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนากลยุทธ์ระดับหน้าที่ ผู้บริหารจะกำหนดกลยุทธ์ระดับหน้าที่เพื่อให้การสนับสนุนการบริหารกลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ ซึ่งมีขอบเขตแคบกว่าระดับหน่วยธุรกิจ เกี่ยวข้องกับแต่ละหน้าที่ขององค์การ 6 ประการ ได้แก่ การตลาด การเงิน การปฏิบัติการ ทรัพยากรมนุษย์ วิจัยและพัฒนา และทรัพยากรข้อมูล

            ระบบสารสนเทศที่จะนำมาใช้นั้น สามารถเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันขององค์กรในด้านใด เช่น หากองค์กรกำหนดกลยุทธ์ ในเรื่องต้นทุนต่ำ ระบบสารสนเทศที่จะนำมาใช้ ก็ควรช่วยในการลดต้นทุน ในการดำเนินงานในองค์กรได้ เช่น ต้นทุนในการสั่งซื้อ ต้นทุนในการเก็บรักษาวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิต เป็นต้น โดยต้องมีเป้าหมายของ การนำระบบสารสนเทศมาใช้ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เชิงกลยุทธ์ของธุรกิจด้วย เช่น ระบบสารสนเทศจะช่วยลดต้นทุน ของธุรกิจในเรื่องใดได้กี่เปอร์เซ็นต์ หรือในระยะเวลาใดจึงจะเกิดผล ในด้านการลดต้น

6.ให้นิยามความหมายของ "การจัดการ" และหน้าที่ทางการจัดการแบ่งออกเป็นกี่หน้าที่ แต่ละหน้าที่สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร
ตอบ
            การจัดการ หรือ Management หมายถึง กระบวนการทำงานหรือกิจกรรมที่กลุ่มบุคคลในองค์กร ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางที่กำหนดไว้ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน และการควบคุม
1.การวางแผน การวางแผนหรือ Planning หมายถึงการพิจารณากำหนดแนวทางการทำงานให้ บรรลุเป้าหมาย โดยเกิดจากการใช้ดุลพินิจคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางการการทำงานในอนาคต
2.การจัดองค์การ การจัดองค์การหรือ Organizing หมายถึง การจัดระเบียบหรือโครงสร้างของการ ทำงานภายในองค์กรให้เป็นระบบระเบียบและอยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
3.การบังคับบัญชาสั่งการ หรือ Commanding หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการใช้ความสามารถชักจูงหรือหว่านล้อมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามคำสั่ง จนสามารถทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จได้
4.การประสานงาน หรือ Coordinating หมายถึง การจัดให้ทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรทำงานประสานสัมพันธ์สอดคล้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
5.การควบคุม หรือ Controlling หมายถึง กระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่การกำหนดมาตรฐาน การแก้ไขการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนการดำเนินงานตามแผน และการประเมินแผนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

7. ผู้บริหารแบ่งออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง ผู้บริหารแต่ละระดับมีหน้าที่ที่สำคัญอย่างไร และสรุปความสำคัญและลักษณ์ของสารสนเทศที่ต้องการของผู้บริหารแต่ละ
ตอบ
แบ่งเป็น 3 ระดับ
            1.ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager)  คือ ผู้บริหารที่อยู่ในระดับสูงสุดของสายบังคับบัญชา ทำหน้าที่นำองค์การไปสู่ความสำเร็จ เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบองค์การทั้งหมดและเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์และนโยบายสำคัญๆ ให้กับองค์การ ขอบเขตการบริหารจัดการจึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ในสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การ 
             2.ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) คือ ผู้บริหารที่อยู่ระดับรองลงมาจากผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้รับเอาเป้าหมาย นโยบายและแผนงานจากผู้บริหารระดับสูงให้นำไปปฏิบัติ ทำหน้าที่ประสานงานโดยพยายามรวบรวมผลสำเร็จของการทำงานภายในหน่วยงานที่ตนรับผิด ชอบอยู่ ส่งมอบให้กับผู้บริหารระดับที่อยู่สูงถัดขึ้นไป ขณะเดียวกันก็จะคอยร่วมมือช่วยเหลือในการเผชิญและแก้ไขปัญหาที่มากระทบจากภายนอกด้วย ผู้บริหารระดับกลางยังมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการทำงานของผู้บริหารที่อยู่ระดับล่างลงมา
              3.ผู้บริหารระดับต้น (First-line Manager or First-line Supervisor) คือ ผู้บริหารระดับล่างสุด รับผิดชอบการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการ เป็นผู้ใกล้ชิดและสั่งการโดยตรงกับ   พนักงานปฏิบัติการและมีโอกาสรู้ความเป็นไปของปัญหาที่เกิดขึ้นในจุดปฏิบัติงาน  ในบางองค์การ อาจจะมีกำหนดตำแหน่งงานของผู้บริหารระดับต้น เป็น Line Manager  หัวหน้างาน Supervisor  หัวหน้างาน Foreman ผู้นำกลุ่ม (Crew Leader) เป็นต้น

8. อธิบายความต้องการสารสนเทศต่อแต่ละบทบาทของผู้บริหาร พร้อมทั้งบอกว่าระบบสารสนเทศใดสนับสนุนแต่ละบทบาทของผู้บริหาร
ตอบ
สารสนเทศต่อบทบาทของผู้บริหาร แบ่งบทบาทของผู้บริหารออกเป็น 3 กลุ่ม หรือ 10 บทบาทดังนี้คือ
1.บทบาทระหว่างบุคคล
            หมายถึง ผู้บริหารเป็นผู้มีบทบาทต่อบุคคลในองค์กรและภายนอกองค์กร โดยจะเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อกับสังคมภายนอกองค์กร และเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงาน และบุคลากรในองค์กร บทบาทระหว่างบุคคลมีบทบาทที่ผู้บริหารมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ 3 ประการ คือ
1.1   หัวหน้า (Figurehead) คือ บทบาทในการจูงใจหรือบังคับบัญชาให้บุคลากรปฏิบัติตามหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
1.2   ผู้นำ (Leader) คือ บทบาทในการกระตุ้น จูงใจให้ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามหน้าที่ในด้านการทำงานหรือด้านอื่นๆ
1.3   ผู้ติดต่อ (Liaison ) คือ บทบาทในการติดต่อกับองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกเพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการด้านการค้า
2         บทบาทด้านข่าวสาร
      บทบาทด้านข่าวสาร (informational roles) หมายถึง บทบาทที่ผู้บริหารทำหน้าที่เสมือนเป็นศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสาร ทั้งการรับและการส่งข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงมีบทบาทที่ต้องรับผิดชอบ 3 ประเภทดังนี้
2.1   ผู้ตรวจสอบ (Monitor) คือ บทบาทในการติดตามและรับข้อมูลมาใช้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจองค์กรและสภาพแวดล้อมภายนอก
2.2   ผู้เผยแพร่ (Disseminator) คือ บทบาทในการส่งข้อมูลที่ได้รับจากภายนอก หรือจากหน่วยงานย่อยให้กับบุคลากรขององค์กร
2.3   โฆษก (Spokesman) คือ บทบาทในการส่งข้อมูลไปยังภายนอก ตามแผนหรือนโยบายขององค์กรเสมือนเป็นโฆษกขององค์กร
3         บทบาทด้านการตัดสินใจ
      บทบาทด้านการตัดสินใจ (decisional roles) หมายถึงบทบาทที่ผู้บริการทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจในระดับองค์กร มีบทบาทที่ผู้บริหารมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการตัดสินใจ 4 ประการ คือ
3.1   ผู้จัดการ (Entrepreneur) คือ บทบาทในการจัดการกับสภาพแวดล้อมที่เป็นโอกาส และริเริ่มหรือแนะนำในด้านหน้าที่การจัดการภายในองค์กร
3.2   ผู้จัดการสิ่งรบกวน (Disturbance Handler) คือ บทบาทในการปรับการทำงานให้ไปในทางที่ถูกเมื่อองค์กรเผชิญกับสิ่งที่รบกวนที่ไม่คาดคิดมาก่อน
3.3   ผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource Allocator) คือ บทบาทในการจัดสรรทรัพยากรให้แก่หน่วยงานต่างๆ ตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้
ผู้เจรจา (Negotiator) คือ บทบาทในการเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อเจรจาหรือแก้ปัญหาความข้องแย้งของกลุ่มหรือกับองค์กรอื่น


ความสำคัญและลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆ ขององค์กร


ความสำคัญและลักษณะ
ผู้บริหารระดับต้น
ผู้บริหารระดับกลาง
ผู้บริหารระดับสูง
จุดมุ่งหมาย
ระดับปฏิบัติการ
ระดับหน่วยงาน
ระดับองค์ร
แหล่งที่มาของสารสนเทศ
ส่วนใหญ่มาจากภายในองค์กร
มาจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ส่วนใหญ่มาจากภายนอกองค์กร
ขอบเขตของสารสนเทศ
แคบลึก
ปานกลาง
กว้างมากกว้างมาก
ระยะเวลา
ระยะสั้น
ระยะกลาง
ระยะยาว
ลักษณะของสารสนเทศ
มีรายละเอียดมาก
มีรายละเอียดปานกลาง
สรุป
ความถี่ของสารสนเทศที่ต้องการ
บ่อยครั้ง เป็นประจำ
เป็นบางช่วง
นาน ๆ ครั้ง
ลักษณะของการตัดสินใจ
มีแบบแผนที่ชัดเจนและแน่นอน
มีแบบแผนบ้าง
ไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนแน่นอน

9. ให้นิยามความหมายของ "การตัดสินใจ" และระดับของการตัดสินใจแบ่งเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ
การตัดสินใจ (Decision Making)
            หมายถึง กระบวนการในการเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เนื่องจากการดำเนินงานภายในองค์กรต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมาย ในการแก้ปัญหานั้นอาจมีวิธีที่เป็นไปได้หลายทาง จึงจำเป็นต้องทำการตัดสินใจเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้ให้มากที่สุด โดยต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ และความฝันแปรของตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ระดับของการตัดสินใจ มี 4 ระดับดังนี้
            1. การตัดสินใจระดับกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจที่มีผลในระยะยาวที่ต่อทั้งองค์กร ซึ่งส่งผลต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายขององค์กร โดยทั่วไปจะเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
            2. การตัดสินใจระดับการควบคุมการบริหาร เป็นการตัดสินใจที่มีผลต่อส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กร ที่เป็นส่วนย่อยอยู่ภายใต้การตัดสินใจระดับกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจของผุ้บริหารระดับกลาง เกี่ยวกับการวัดผลการปฏิบัติงาน หรือการควบคุมประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
            3. การตัดสินใจระดับปฏิบัติงาน เป็นการตัดสินใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเกี่ยวกับกิจกรรม งาน เป้าหมาย และทรัพยากรที่ถูกกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วโดยทั่วไปจะเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่าง
            4. การตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ เป็นการ ตัดสินใจของผู้เชียวชาญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินทางเลือกของสินค้าหรือบริการ ใหม่ การสื่อสารความรู้ใหม่ และวิธีการกระจายข้อมูลข่าวสารไปยังทุกหน่วยของ องค์กร

10. รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารมีอะไรบ้าง แต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร
            ผู้บริหารในระดับปฏิบัติการ ระดับกลวิธี และระดับกลยุทธ์ มีการตัดสินใจแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานที่รับผิดชอบในแต่ละระดับของการบริหาร เป็นสาเหตุให้ รูปแบบของปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป เพราะปัญหาบางอย่างมีลักษณะที่ชัดเจน สามารถตัดสินใจด้วยวิธีการเดียวกันทุกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของผู้บริหาร ในระดับปฏิบัติการ แต่ปัญหาบางอย่างมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน ไม่สามารถตัดสินใจด้วย วิธีการเดียวกันในทุกครั้ง ต้องอาศัยประสบการณ์หรือทักษะของผู้ตัดสินใจประกอบ กันซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับสูง รูปแบบการตัดสินใจของ ผู้บริหาร อาจแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure) เป็นการตัดสินใจที่ใช้หลักวินิจฉัยแบบที่มีหลักเกณฑ์หรือมีหลักการที่แน่นอนชัดเจน หรือ เป็นกระบวนการตัดสินใจที่มีการกําหนดูทางแก้ไขไว้ล่วงหน้า เนื่องจากเป็นการตัดสินใจ เกี่ยวกับปัญหาที่ทราบดีและมักเกิดขึ้นซ้ํา ๆ เป็นประจําโดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด จะถูกกําหนดไว้อย่างชัดเจนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายตําที่สุดหรือเพื่อให้เกิดกําไรสูงสุด เช่น
            • การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
            • การจัดซื้อสินค้าในปริมาณที่ทําให้เกิดการประหยัด
            • การเลือกการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด
            • การตัดสินใจแบบนี้มักใช้แบบจําลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical model) หรือศาสตร์
ทางด้านการการจัดการ (Imanagement science) หรือการวิจัยดําเนินงาน(operation
research) เข้ามาใช้แก้ปัญหา
            • ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบโครงสร้างที่ใช้กับงานด้านธุรกิจ ได้แก่
            • การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับสินค้าคงคลังจะต้องสั่งของเข้าครั้งละเท่าไร
            • การวิเคราะห์งบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดการต่างๆ
             • การตัดสินใจเรื่องการลงทุนว่าจะลงทุนอะไร สถานที่ตั้งโกดังเก็บสินค้าควรตั้งที่ไหน เป็นต้น
2. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (semistructure)
            เป็นการตัดสินใจแบบผสมระหว่างแบบมีโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง คือบางส่วน
สามารถตัดสินใจแบบมีโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทําได้
            • ปัญหาแบบถึงโครงสร้างนี้ จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐานและการพิจารณาโดยมนุษย์ รวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงมีขั้นตอนในการแก้ปัญหาไม่ชัดเจนและมีขั้นตอนที่ซับซ้อน มากกว่าแบบมีโครงสร้าง ปัญหาบางส่วนเขียนเป็นแบบจําลองทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ ปัญหาบางส่วนไม่สามารถเขียนออกมาในรูปของแบบจําลองได้
            สารสนเทศที่ใช้จะเป็นสารสนเทศที่มีโครงสร้างและเป็นรูปแบบรายงานที่ชัดเจน และ ข้อมูลแนวโน้มต่างๆ ที่มาจากแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร ตัวอย่างเช่น การทําสัญญา ทางการค้า การกําหนดงบประมาณทางการตลาดสําหรับผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจให้ เครดิตกับลูกค้า เป็นต้น
3. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructure) เป็นการตัดสินใจที่ไม่มีหลักการหรือวิธีการที่แน่นอนที่สามารถนํามาใช้ตัดสินใจได้ อีกทั้งมี ทางเลือกให้เลือกได้มากมายหลายทางเพื่อใช้แก้ปัญหาและตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการ ตัดสินใจนั้นมีจํานวนมากและซับซ้อน มีโอกาสผิดพลาด หรือมีความเสี่ยงมากกว่าการตัดสินใจแบบที่มีโครงสร้างและแบบกึ่งโครงสร้าง
            • เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่มีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน จึงต้องใช้
สัญชาติญาณ ประสบการณ์ ความรู้ และความชํานาญของผู้บริหารในการตัดสินใจ
             • สารสนเทศที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสารสนเทศที่มาจากภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลข่าวสารทาง
การเมือง เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ และแนวโน้มของเทคโนโลยี เป็นต้น
            • ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น การวางแผนการพัฒนาสินค้าหรือการ
บริการใหม่ การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม ปัญหาพนักงานประท้วง การเลือกของ โครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนําไปใช้ในปีหน้า เป็นต้น

11. อธิบายกระบวนการตัดสินใจ ของ Simon ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ
ไซมอน (Simon, 1960:5-6) ได้แบ่งชนิดของการตัดสินใจออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้
            1. การตัดสินใจที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีแบบอย่างไว้ล่วงหน้า (Programmed decisions) เป็นการตัดสินใจตามระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาจนกลายเป็นงานประจำ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการลาป่วย ลากิจ ลาบวช การอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน การอนุมัติผลการศึกษา เป็นต้น การตัดสินใจแบบกำหนดไว้ล่วงหน้านี้ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารเลือกทางเลือกได้น้อย เพราะว่าเป็นการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอน
            2. การตัดสินใจที่ไม่ได้กำหนดหรือไม่มีแบบอย่างไว้ล่วงหน้า (Nonprogrammed decisions) เป็นการตัดสินใจในเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาก่อน จึงเป็นเรื่องยุ่งยากแก่ผู้ตัดสินใจ โดยที่ผู้บริหารหรือผู้ตัดสินใจจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้วย เช่น การตัดสินใจนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนหรือผลกำไรในธุรกิจ การตัดสินใจผลิตสินค้าตัวใหม่ การตัดสินใจในการขยายกิจการ เป็นต้น

12. อธิบายระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแต่ละชนิด สนับสนุนประเภทการตัดสินใจ และการตัดสินใจของผู้บริหารแต่ละระดับ อย่างไร
ตอบ
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) เป็น ระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล ที่ได้จาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ และประกอบการตัดสินใจ โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
            2.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกๆ ปี
            2.2 รายงานสรุป (Summarized Reports) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม โดยปกติจะแสดงผลในรูปของตารางสรุปจำนวนและกราฟเปรียบเทียบ
            2.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Reports) เป็น รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจอย่างทัน เวลา
            2.4 รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand Reports) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ Demand Reports จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ เท่านั้น