วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทที่3 แบบฝึกหัด

ระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
         ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware)   ซอฟต์แวร์ (Sofeware)   บุคลากร (Peopleware)   ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information)   และกระบวนการทำงาน (Procedure)

 





องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
           คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
            - หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
            - หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
            - หน่วยความจำหลัก
            - หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
            - หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่างๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผล กลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนักการที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้นๆข้อเสียของหน่วยความจำ หลัก คือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็บข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก

                                       



ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

2. ซอฟต์แวร์ (Software)
            คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือ นักเขียนโปรแกรม เป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้น เขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
- ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

            ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่างๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

3. บุคลากร (Peopleware)
            ก็เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียก บุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
            ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนพยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
            ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
            บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
            - การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
            - การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
            - การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
            - การพัฒนา และบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
            - การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น 

4. ข้อมูลและสารสนเทศ  (Data / Information)
            ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
            ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
            สารสนเทศ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง

มีความสัมพันธ์กัน (relevant)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)
ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)
เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)
ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)
ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน

คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์

5. กระบวนการทำงาน (Procedure)
            กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
            1.จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
            2.สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
            3.เลือกรายการ
            4.ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
            5.รับเงิน
            6.รับใบบันทึกรายการ และบัตร

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

            หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ

1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)

            หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป

2. หน่วยควบคุม (Control Unit)

            หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง



3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)



            คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผลการทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผลกลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น



หน่วยความจำหลัก (main memory)

            หน่วยความจำหลัก (main memory)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และคำสั่งที่อยู่ระหว่าง
การประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หรือในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน บางครั้งอาจเรียกว่า
หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (primary storage)

            หน่วยความจำหลักจะทำงานควบคู่ไปกับซีพียู และช่วยให้การทำงานของซีพียูมีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยวงรอบการทำงานของซีพียูนั้นทำงานเร็วมาก หากไม่มีที่เก็บ หรือพักข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่มีขนาดเพียงพอ จะทำให้การประมวลผลช้าลง หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. หน่วยความจำแรม
            หน่วยความจำแรม (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วยความจำที่จัดเก็บข้อมูลในขณะที่ซีพียูกำลังประมวลผล หรือเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน่วยความจำประเภทนี้ ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงานเพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหาย หรืออาจเรียกว่าหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) ซึ่งหากเกิดไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะหายไป

            แรม ทำหน้าที่เป็นที่เก็บข้อมูล และคำสั่ง หรือโปรแกรมในระหว่างการทำงานของซีพียู โดยซีพียูสามารถเข้าถึงข้อมูล แะลคำสั่งในแรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากผู้ใช้ต้องการข้อมูลภายหลัง ผู้ใช้ต้องย้ายข้อมูลจากแรมไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำรอง เช่นฮาร์ดดิสก์ โดยใช้คำสั่ง save จากโปรแกรมที่ใช้งาน

            แรมที่มีขนาดหน่วยความจำที่ใหญ่มากจะทำงานได้เร็วขึ้น การวัดขนาดของหน่วยความจำของแรม นิยมวัดโดยใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) โดยเปรียบเทียบกับขนาดของตัวอักษร ดังนี้
          
              1 Byte  (ไบต์)            =        1 ตัวอักษร
             1 KB    (กิโลไบต์)        =        1,024 ตัวอักษร                            ประมาณ 1 พันตัวอักษร
             1 MB   (เมกกะไบต์)     =        1,048,576 ตัวอักษร                     ประมาณ 1 ล้านตัวอักษร
             1 GB   (กิกะไบต์)         =        1,073,741,824 ตัวอักษร          ประมาณ 1 พันล้านตัวอักษร
      
             ปัจจุบันขนาดหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดตั้งแต่
256 MB 512 MB 1 GB และ 2 GB เป็นต้น

2. หน่วยความจำรอม

            หน่วยความจำรอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิต
ได้ติดตั้งชุดคำสั่งสำหรับใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญ ๆ ่ของระบบคอมพิวเตอร์
โดยรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลไว้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยง (nonvolatile) นั่นคือ
เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว และเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมจะไม่สูญหาย ยังคงอยู่เหมือนเดิม
แต่รอมจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งโดยผู้ใช้ได้ เพราะเป็นชุดคำสั่งที่ติดตั้ง
ในรอมอย่างถาวร มาตั้งแต่การผลิตของบริษัท เรียกว่า เฟิร์มแวร์ (firmware)

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage Device ) 

            การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อต้องการเก็บบันทึกข้อมูล หรือกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ไว้ใช้ในอนาคตจะไม่สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอ อีกทั้งข้อมูลที่เก็บจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง หากต้องการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและเอาไว้ใช้ประโยชน์ในภายหลัง ก็จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง หรือที่เรียกว่า secondary storage
          ปัจจุบันมีสื่อที่ผลิตมาสำหรับใช้เก็บข้อมูลสำรองหลากหลายชนิด ซึ่งพอจะแบ่งตามรูปแบบของสื่อที่เก็บข้อมูลออกได้เป็น 4 ประเภท

1. สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก ( Magnetic Disk device ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทที่ใช้งานเป็นลักษณะของจานบันทึก ( disk ) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้

         1.1 ฟล็อปปี้ดิสก์ ( Floppy disks ) สื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่ได้รับความนิยมและใช้งานอย่างแพร่หลาย สามารถหาซื้อใช้ได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเก็ตต์ ( diskette ) หรือแผ่นดิสก์ การเก็บข้อมูลจะมีจานบันทึก ซึ่งเป็นวัสดุอ่อนจำพวกพลาสติกที่เคลือบสารแม่เหล็กอยู่ด้านใน และห่อหุ้มด้วยกรอบพลาสติกแข็งอีกชั้นหนึ่ง แผ่นดิสก์ในอดีตจะมีขนาดจานบันทึกที่ใหญ่มากถึง 5.25 นิ้ว ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเลิกใช้งานแล้ว จะเห็นได้เฉพาะขนาด 3.5 นิ้วแทน ซึ่งมีขนาดเล็กและพกพาสะดวกกว่า โครงสร้างการทำงานของแผ่นดิสก์จะต้องมีการจัดข้อมูลโดยการ ฟอร์แมต ( format ) เมื่อใช้ครั้งแรกก่อนทุกครั้ง (ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตมักจะมีการฟอร์แมตแผ่นมาตั้งแต่อยู่ในกระบวนการผลิตแล้ว (ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการฟอร์แมตก่อนใช้งานซ้ำอีก) การฟอร์แมตเป็นกระบวนการจัดพื้นที่เก็บไฟล์ข้อมูลก่อนใช้งาน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บบันทึกข้อมูลนั่นเอง โครงสร้างของแผ่นจานแม่เหล็กเมื่อทำการฟอร์แมตแล้วจะมีลักษณะดังนี้

 โครงสร้างของดิสก์เมื่อทำการฟอร์แมตแล้ว

                แทรค ( Track ) เป็นการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลออกเป็นส่วนตามแนววงกลมรอบแผ่นจานแม่เหล็ก จะมีมากหรือน้อยวงก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้น ซึ่งแผ่นแต่ละชนิดจะมีความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุข้อมูลที่จะจัดเก็บต่างกันตามไปด้วย

                  เซกเตอร์ ( Sector ) เป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วน ๆ สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้ว เซกเตอร์ก็เปรียบได้เหมือนกับห้องพักต่าง ๆ ที่แบ่งให้คนอยู่กันเป็นห้อง ๆ นั่นเอง แผ่นดิสเก็ตต์ที่พบทั่วไปในปัจจุบันจะเป็นแบบความจุสูงหรือ high density สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1.44 MB ซึ่งเราอาจคำนวณหาความจุข้อมูลของแผ่นดิสก์ได้โดยการเอาจำนวนด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก ( side ) จำนวนของแทรค ( track ) จำนวนของเซคเตอร์ในแต่ละแทรค ( sector/track ) และความจุข้อมูลต่อ 1 เซกเตอร์ ( byte/sector ) ว่ามีค่าเป็นเท่าไหร่ แล้วเอาตัวเลขทั้งหมดมาคูณกันก็จะได้ปริมาณความจุข้อมูลในแผ่นชนิดนั้น ๆ เมื่อเก็บหรือบันทึกข้อมูลแล้วสามารถที่จะป้องกันการเขียนทับใหม่ หรือป้องกันการลบข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น โดยเลือกใช้ปุ่มเปิด – ปิดการบันทึกที่อยู่ข้าง ๆ แผ่นได้ ซึ่งหากเลื่อนขึ้น (เปิดช่องทะลุ) จะหมายถึงการป้องกัน ( write-protected ) แต่หากเลื่อนปุ่มลงจะหมายถึง ไม่ต้องป้องกันการเขียนทับข้อมูล ( not write-protected ) นั่นเอง
           
                 1.2 ฮาร์ดดิสก์ ( Hard disks ) เป็นอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่มีโครงสร้างคล้ายกับดิสเก็ตต์ แต่จุข้อมูลมากกว่าและมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเก็บตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( operating system ) รวมถึงโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ฮาร์ดดิสก์ผลิตมาจากวัสดุแบบแข็งจำนวนหลายแผ่นวางเรียงต่อกันเป็นชั้น จานแม่เหล็กแต่ละจาน เรียกว่า แพลตเตอร์ ( platter ) ซึ่งอาจจะมีจำนวนต่างกันได้ในฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่น

2. สื่อเก็บข้อมูลแสง ( Optical Storage Device )
                เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งใช้หลักการทำงานของแสงเข้ามาช่วย การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก แต่ต่างกันที่การแบ่งวงของแทรคจะแบ่งเป็นลักษณะคล้ายรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก และแบ่งส่วนย่อยของแทรคออกเป็นเซกเตอร์เช่นเดียวกันกับแผ่นจานแม่เหล็ก

                2.1 CD (Compact Disc) เป็นสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบแรกที่ไดรับความนิยมอย่างแพร่หลายและปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ เนื่องจากมีราคาถูกลงกว่าสมัยก่อนมาก ซึ่งแยกออกได้ดังนี้

            CD-ROM (Compact disc read only memory) เป็นสื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้สำหรับติดตั้งในคอมพิวเตอร์รวมถึง
เก็บผลงานไฟล์มัลติมีเดีย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI – computer assisted instruction ) หรือ CD-Training ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวแต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลซ้ำได้ สามารถจุข้อมูลได้ถึง 650-750 MB โดยมากแล้วจะเป็นแผ่นที่ปั๊มมาจากโรงงานหรือบริษัทผู้ผลิตมาแล้ว

            CD-R (Compact disc recordable) พบเห็นได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป มีราคาถูกลงอย่างมาก แผ่นแบบนี้สามารถใช้ไดรซ์เขียนแผ่น ( CD Write ) บันทึกข้อมูลได้และหากเขียนข้อมูลลงไปแล้วยังไม่เต็มแผ่นก็สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ แต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่เขียนไว้แล้วได้ เนื่องจากเนื้อที่บนแผ่นแต่ละจุดจะเขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว เขียนแล้วเขียนเลยจะลบทิ้งอีกไม่ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบันทึกไฟล์ข้อมูลเพื่อเก็บรักษาทั่วไป เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล เพลง mp3 หรือไฟล์งานข้อมูลซึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

            CD-RW (Compact disc rewritable) แผ่นชนิดนี้มีลักษณะหน้าตาเหมือนกับแผ่น CD-R ทุกประการแต่มีข้อดีกว่าคือ นอกจากเขียนบันทึกข้อมูลได้หลายครั้งแล้ว ยังสามารถลบข้อมูลและเขียนซ้ำใหม่ได้เรื่อย ๆ เหมือนกับการบันทึกและเขียนซ้ำของดิสเก็ตต์ อย่างไรก็ตามแผ่น CD-RW ขณะนี้ยังมีราคาสูงกว่า CD-R อยู่พอสมควร จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบันทึกข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและเก็บข้อมูลไว้ในระยะเวลาอันสั้น ไม่ถาวร ซึ่งจะช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เพราะสามารถลบทิ้งแล้วเขียนใหม่อีกได้ถึงกว่าพันครั้ง

          2.2 DVD (Digital Versatile Disc/Digital Video Disc) ผลิตมาเพื่อตอบสนองกับงานเก็บข้อมูลความจุสูง เช่น เพลงหรืองานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงและคมชัดมากที่สุด การเก็บข้อมูลจะมีการแบ่งออกเป็นชั้น ๆ เรียกว่า เลเยอร์ (Layer ) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน (sides ) ความจุของ DVD จะมีมากกว่า CD หลายเท่าตัว โดยมีตั้งแต่ 4.7 GB - 17 GB

            การใช้งาน DVD มีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นและคาดว่าจะเข้ามาแทน CD ในอนาคต เนื่องจากราคาของ DVD มีราคาถูกลงอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันมีการนำแผ่น DVD มาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายและมีมาตรฐานที่ค่อนข้างแตกต่างกันไม่เหมือนกับแผ่น CD ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้

            DVD-ROM เป็นแผ่น DVD ที่ผลิตจากบริษัทหรือโรงงานโดยตรง มักใช้สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความคมชัดสูงและต้องการเสียงที่สมจริง รวมถึงการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่ที่ CD-ROM ทั่วไปไม่สามารถจัดเก็บหรือบันทึกได้

            DVD-R และ DVD-RW เป็นแผ่น DVD ประเภทเขียนข้อมูลได้ตามมาตรฐานขององค์กร DVD Forum (www.dvdforum.org) มีความจุข้อมูลสูงสุดขณะนี้ 4.7 GB เท่านั้น การเขียนข้อมูลสำหรับ DVD-R สามารถเขียนและบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวเหมือนกับการเขียนแผ่น CD-R ส่วน DVD-RW จะเขียนและบันทึกข้อมูลซ้ำหลาย ๆ ครั้ง วิธีการเขียนข้อมูลอาจเติมเฉพาะข้อมูลใหม่ลงไปโดยลบอันเก่าทิ้งทั้งแผ่นหรือจะ import ข้อมูลอันเก่ามารวมกับของใหม่แล้วเขียนไปพร้อม ๆ กันก็ได้

            DVD+R และ DVD+RW เป็นกลุ่มของ DVD ที่เขียนข้อมูลได้เช่นเดียวกันแต่เป็นมาตรฐานขององค์กร DVD+RW Alliance (www.dvdrw.com) ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง มีความจุสูงสุดคือ 4.7 GB และอาจเพิ่มอีกในอนาคต การเขียนข้อมูลของ DVD+R และ DVD+RW จะคล้าย ๆ กันกับกลุ่มมาตรฐานเดิมแต่ความเร็วในการเขียนแผ่นจะมีมากกว่า

             ไดรว์เขียนแผ่น DVD ปัจจุบันมักเขียนได้ทั้งแบบ +RW และ – RW เรียกกันว่าแบบ Dual format นอกจากนี้ยังมีไดรว์และแผ่นรุ่นใหม่ที่บันทึกข้อมูลได้มากถึงเกือบสองเท่าของแบบธรรมดา คือจุได้ 8.5 GB (เทียบเท่า DVD-9 ) โดยบันทึกข้อมูลสองชั้นซ้อนกันในด้านเดียว เรียกว่าแผ่นและไดรว์แบบ Double Layer ( บางทีก็เรียก Dual Layer)

3. สื่อเก็บข้อมูลอื่น ๆ ( Other Storage Device )
            อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟรช ( Flash memory device ) ปัจจุบันนำมาใช้บันทึกแทนสื่อเก็บข้อมูลแบบดิสเก็ตต์มากขึ้น เพราะจุข้อมูลได้มากกว่า นิยมใช้กับเครื่องพีซีและคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั่วไป มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น flash drive, thumb drive หรือ handy drive โดยสามารถต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านค่าข้อมูลนั้นได้โดยตรง

            อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟรชนี้อาจอยู่ในรูปแบบของ memory card ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพาทั้งหลาย เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอลหรือพีดีเอ ซึ่งมีหลายฟอร์แมต (ดังรูป) เช่นอ Compact Flash (CF), SmartMedia ( เลิกผลิตแล้ว), Secure Digital และ Multimedia Memory Card (SD/MMC ซึ่งมีขนาดเท่ากัน) และ Memory Stick โดยการอ่านข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ดิจิตอลนั้นต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรงหรือใช้อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า card reader ช่วยอ่านข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในได้เช่นเดียวกัน

อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) 
           อุปกรณ์รับข้อมูลเข้ามีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

           อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่
            1. แป้นพิมพ์(Keyboard)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร
            2. เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
            3.แทร็กบอล(Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่  แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน
            4.จอยสติก  (Joy Stick)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง  ซ้ายขวา  เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้
            5. เครื่องอ่านบาร์โค๊ต  (Bar Code Reader)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code)ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลข
6. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล  โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ  เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล  แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป
            7. เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง  (Optical Character Reader:  OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค  ตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ
            8. เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์
            9. ปากกาแสง (Light Pen)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ  มักใช้ในงานออกแบบ
10. จอสัมผัส  (Touch Screens)  เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ  เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM
            11. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล  (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ  ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
            12. ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง  เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้

อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง    
            หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล  ได้แก่
            1. เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน  ลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียง
            2 จานแม่เหล็ก (Magnetic  Disk)  เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD: Direct Access Storage Device)การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็ก  แต่การเข้าถึงเนื้อที่เก็บข้อมูลนั้นๆ อาศัยตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยระบบปฏิบัติการ
            3.จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette) เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar) ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์  เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียว  และห่อหุ้มด้วยพลาสติก
            4. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ  เรียกว่า  แพลตเตอร์ (Platters)  และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์ถูกออกแบบให้เป็นชุดเดียวกันกับส่วนเก็บข้อมูล
5. ซีดีรอม  (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล  โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์  เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลง  การบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิต  ข้อมูลบน CD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย
            6. ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable) เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า CD-R Drive โดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์  ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผล  ลงบน CD-R ได้  รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย
            7. วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD) เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว  แต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้  ความจุตั้งแต่ 600 MB  ถึง 3 GB ขึ้นไป  ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน
            8. เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical  Disk) เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกัน  ทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไป  ขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว  แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย
            9. ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล  แผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GB  ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600 KB ต่อวินาที  เครื่องอ่านดีวีดีสามารถใช้กับซีดีรอมได้ด้วย

อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
            อุปกรณ์แสดงผล  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ
            1. จอภาพ  (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น
            2. เครื่องพิมพ์ (Printer)  เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ สามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้    2 ประเภท คือ  1. เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ  2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ

            3. เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์  โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม  ทางสถาปัตยกรรม  ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่  มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบเคด หรือพิมพ์เขียว
            4. เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ลำโพง   เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง  ที่เกิดจากการ์ดเสียง   หน้าที่หลักคือ เมื่อการ์ดเสียงเปลี่ยนสัญญาณเสียงดิจิตอลให้เป็นกระแสไฟฟ้า  ผ่านมายังลำโพงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กและเกิดการสั่นสะเทือนของลำโพง  มีผลทำให้เกิดเสียงในระดับต่างๆ

หน่วยแสดงผล  (Output Unit)
            อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ( Output Device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะมีทั้งข้อมูลตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
            1.อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ (Display device )
            เป็นอุปกรณ์สำหรับการแสดงผลในรูปแบบกราฟิกและผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อไฟดับหรือปิดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลงไปจะไม่สามารถเห็นได้อีก บางครั้งนิยมเรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่าsoft copy นั่นเอง เช่น
          - เทอร์มินอล ( Terminal ) มักพบเห็นได้กับจุดบริการขาย ( POS-Point Of Sale ) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือจุดให้บริการลูกค้าเพื่อทำรายการบางประเภท เช่น ตู้รายการฝากถอน ATM อัตโนมัติ จอภาพของเทอร์มินอลจะมีขนาดเล็กกว่าจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
         - จอซีอาร์ที ( CRT Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี การทำงานจะอาศัยหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหลอดรังสีคาโธด ( cathode ray tube ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับหลอดภาพของโทรทัศน์ และตัวจอภาพก็มีลักษณะเหมือนกับจอภาพของโทรทัศน์ มีหลายขนาดตั้งแต่ 14,15,16,17,19,20 และ 21 นิ้ว เป็นต้น (แนวโน้มการใช้งานปัจจุบันจะเลือกใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานได้ดีกว่าจอภาพขนาดเล็ก โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้พื้นที่สำหรับทำงานบนจอภาพมาก ๆ เช่น การสร้างภาพกราฟิกหรือการออกแบบงาน 3 มิติ เป็นต้น)
        - จอแอลซีดี ( LCD Monitor )  เป็นอุปกรณ์แสดงผลอีกแบบหนึ่ง อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษเรียกว่า “ ผลึกเหลว”หรือ liquid crystal ในการแสดงผล (LCD = Liquid Crystal Display ) ซึ่งเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังแต่ละจุดบนจอ ผลึกเหลว ณ จุดนั้นจะมีการบิดตัวของโมเลกุลเป็นองศาที่แตกต่างกัน ทำให้แสงที่ส่องจากด้านหลังจอผ่านได้มากน้อยต่างกัน และเกิดภาพสีต่าง ๆ ขึ้น แต่เดิมนิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค ปัจจุบันได้นำมาใช้กับเครื่องพีซีทั่วไปบ้างแล้ว เนื่องจากมีขนาดบาง เบาและสะดวกในการเคลื่อนย้ายมากกว่า อีกทั้งยังไม่เปลืองพื้นที่สำหรับการทำงานด้วย แต่ปัจจุบันยังมีราคาที่แพงกว่าจอแบบซีอาร์ทีพอสมควร
       - โปรเจคเตอร์ ( Projector ) นิยมใช้สำหรับการจัดประชุม สัมมนา หรือการนำเสนอผลงาน ( presentation ) ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมจำนวนมากได้เห็นข้อมูลภาพกราฟิกต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เป็นเหมือนอุปกรณ์ช่วยขยายภาพขนาดเล็กจากจอภาพธรรมดาให้ไปแสดงผลลัพธ์เป็นภาพขนาดใหญ่ที่บริเวณฉากรับภาพ

2.อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน (Print Device )

            เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่แสดงออกมาให้อยู่ในรูปแบบข้อมูล รายงาน รูปภาพ หรือแผนที่ซึ่งสามารถจับต้องหรือเก็บรักษาไว้ได้อย่างถาวร นิยมเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ Hard copy อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการพิมพ์งานมีดังนี้
            - เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์( Dot matrix Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในองค์กรธุรกิจทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำงานพิมพ์โดยอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ผ้าหมึก( ribbon ) และตัวกระดาษโดยตรงจึงเหมาะสมกับการพิมพ์เอกสารประเภทใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบส่งของ หรือรายการสั่งซื้อที่จำเป็นต้องมีสำเนาเอกสาร(copy ) เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางการบัญชี นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องพิมพ์แบบกระทบ(impact printer ) แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการทำงานที่เป็นสี นอกจากนี้คุณภาพของงาน ความคมชัด และความเร็วยังต่ำกว่าเครื่องพิมพ์แบบอื่นๆ จึงมีความนิยมใช้ลดลง ถึงแม้มีราคาไม่สูงนักก็ตาม
            - เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์( Laser Printer ) ผลลัพธ์ที่ได้จากการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ซึ่งอาศัยหัวพิมพ์กระทบลงไปในกระดาษเหมือหลักการของเครื่องพิมพ์ดีดนั้น ทำให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ไม่ชัดเจน จึงนิยมใช้เครื่องพิมพ์ประเภทเลเซอร์เข้ามาแทนเนื่องจากมีความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบนี้อาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ฉายลงไปยังหลอดสร้าง( drum ) ภาพที่ได้รับการกระตุ้นของแสง แล้วฉีดผงหมึกเข้าไปยังบริเวณที่มีประจุอยู่(ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารนั่นเอง) จากนั้นให้กระดาษวิ่งมารับผงหมึก แล้วไปผ่านความร้อนเพื่อให้ภาพติดแน่น ข้อดีคือภาพที่ได้มีความละเอียดสูงมาก และความเร็วก็สูง แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนา (copy ) เหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ได้ นอกจากนี้ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องพิมพ์งานสีได้แล้ว โดยใช้ผงหมึก 4 สีผสมกัน ซึ่งราคาเครื่องเริ่มลดลงมากแล้ว แต่ผงหมึกก็ยังแพงอยู่
            - เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต ( Ink-jet Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีการทำงานโดยอาศัยน้ำหมึกพ่นลงไปบนกระดาษตรงจุดที่ต้องการ และสามารถเลือกใช้ได้ทั้งหมึกสีและขาวดำ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกอาจมีทั้งแบบราคาถูกที่ใช้งานตามบ้านทั่วไปสำหรับพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฏิทิน หรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ หรืออาจพบเห็นได้กับเครื่องพิมพ์ในบางรุ่นที่นิยมใช้กันในงานธุรกิจ เช่น งานพิมพ์โปสเตอร์หรือภาพสีขนาดใหญ่ แต่ก็มีราคาที่แพงตามไปด้วย
            - พลอตเตอร์ ( Plotter ) เป็นเครื่องพิมพ์เพื่อแสดงผลลัพธ์อีกประเภทหนึ่ง มักใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากและไม่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดเล็กได้ การทำงานใช้กลไกบังคับปากกาให้ขีดลงบนกระดาษโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพโฆษณา แผนที่ แผนผัง แบบแปลน เป็นต้น อย่างไรก็ดีอาจพบเห็นเครื่องพลอตเตอร์นี้ค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตได้เข้ามาแทนที่เกือบหมดแล้ว

3.อุปกรณ์ขับเสียง (Audio Device )
            - ลำโพง ( Speaker ) ข้อมูลที่เป็นแบบเสียงจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ไปยังจอภาพของคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะอาศัยอุปกรณ์แสดงผลเฉพาะที่เรียกว่า ลำโพง ( speaker ) เพื่อช่วยขับเสียงออก ปัจจุบันมีราคาถูกมากตั้งแต่ร้อยกว่าบาทจนถึงหลักพัน นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน
            - หูฟัง ( Headphone ) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับฟังข้อมูลประเภทเสียงเช่นเดียวกัน นิยมใช้สำหรับการฟังเสียง เช่น ฟังเพลง หรือเสียงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นแบบส่วนตัว ในบางรุ่นอาจพบได้ทั้งหูฟังและไมโครโฟนอยู่ในตัวเดียวกัน มีให้เลือกหลายชนิดทั้งแบบที่มีสายเชื่อมต่อและแบบไร้สาย ราคาของหูฟังอาจจะมีตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและยี่ห้อของบริษัทผู้ผลิตด้วย
            โดยปกติทั้งหูฟังและลำโพงจะต่อสัญญาณเสียงแบบอนาล็อก ( analog ) คือสัญญาณเสียงทั่ว ๆ ไปเหมือนในวิทยุหรือโทรทัศน์ จากช่องเสียบสัญญาณที่ซาวด์การ์ดในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีลำโพงและหูฟังบางแบบอาจใช้การต่อสัญญาณเสียงในแบบดิจิตอลจากพอร์ต USB ของเครื่องออกมาแทน แล้วแปลงกลับเป็นเสียงแบบที่เราได้ยินกัน โดยใช้วงจรภายในตัวเอง ซึ่งจะลดเสียงรบกวนจากอุปกรณ์อื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ แต่หูฟังหรือลำโพงแบบนี้ก็จะมีราคาแพงกว่า

สาเหตุที่ผู้บริหารให้ความสนใจกับเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ มีดังนี้
           เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานในองค์การมีความสำคัญต่อ ประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้ เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด

หลักการพิจารณาและการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์
              สิ่งแรกที่ควรจะต้องคำนึงถึงมากที่สุด ในการ Upgrade หรือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ คือ ถามใจก่อนว่าต้องการซื้อคอมพิวเตอร์มาเพื่อทำอะไร เหตุผลหลักๆ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในสมัยนี้แบ่งเป็นหัวข้อดังนี้
              1. สำหรับใช้งานทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งานเอกสารต่างๆ หรือสำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต
              2. สำหรับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
              3. สำหรับงานที่ต้องใช้ความเร็วของ CPU สูง เช่น การใช้ทำงานเกี่ยวกับ CAD หรือ Encode ต่างๆ

หลักการเลือกซื้อ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์
            การเลือก CPU สำหรับคอมพิวเตอร์นี้ควรจะเป็นสิ่งแรก ที่ต้องนึกถึงก่อนอย่างอื่น ให้มองภาพให้ออกก่อนว่า CPU ที่มีใช้งานอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้มีรุ่นไหน ความเร็วเท่าไรกันบ้าง CPU ที่มีความเร็วสูงๆ ราคาก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย หากท่านเลือกซื้อ CPU ที่ราคาแพงๆ เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง CPU อาจจะมีราคาตกลงมา ดังนั้นควรเลือกซื้อ CPU ที่เหมาะกับการใช้งานดีกว่า หากต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบธรรมดาใช้พิมพ์เอกสารต่างๆ เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือก CPU ที่ราคาถูกๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากใครต้องการเน้นไปที่การใช้งานแบบหนักๆ ก็คงจะต้องเลือก CPU ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกสักหน่อย

            ดังนั้น คำถามแรก คือต้องการที่จะ Upgrade หรือซื้อคอมพิวเตอร์มาเพื่อใช้สำหรับทำอะไร แล้วก็เลือกอุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับงาน (โดยที่อาจจะมีการเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย) หลักการเลือกซื้อเมนบอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์หาข้อมูลว่าเมนบอร์ดนั้นๆ สามารถรองรับ CPU ได้ความเร็วสูงสุดเท่าไร ลองพิจารณาดูข้อมูลของเมนบอร์ดแบบต่างๆ และความเร็วสูงสุดของ CPU ที่มีออกวางจำหน่าย เพราะว่าบางครั้งเพียงแค่เปลี่ยน CPU อย่างเดียวโดยยังใช้เมนบอร์ดเดิมก็ได้ ซึ่งจะเป็นการประหยัดเงินไปได้นอกจากนี้  สำหรับท่านที่มีงบน้อยๆ เมนบอร์ดแบบ All in One เป็นเมนบอร์ดอีกแบบหนึ่งที่เรียกได้ว่ามีราคาประหยัด ข้อดีของเมนบอร์ดชนิดนี้คือ ราคาถูก ได้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นครบโดยไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่มเติม แต่ข้อเสียของเมนบอร์ดแบบนี้คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่มารวมกันอยู่บนเมนบอร์ดนี้  จะทำให้ CPU ต้องแบ่งการทำงานมาให้กับอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องโดยรวมช้ากว่าการใช้เมนบอร์ดแบบแยกส่วนมาก

การเลือกซื้อ Case สำหรับคอมพิวเตอร์
            Power Supply และ Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX และนอกจากนี้เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะใช้ กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่หมดแล้ว สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ AT แต่หาเมนบอร์ดได้ยากลองมองดูส่วนของ Case หากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม่

การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ 
            สำหรับคอมพิวเตอร์ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ หากเป็นการ Upgrade เครื่องเก่าลองมองดูว่าฮาร์ดดิสก์ตัวเดิมยังมีขนาดเพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่ สิ่งแรกที่มองควรจะพิจารณาคือ ขนาดความจุ หากเป็นการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่เลือกขนาดที่ใหญ่ๆ ไว้ก่อน เพราะว่าในอนาคต ความต้องการใช้งานฮาร์ดดิสก์จะต้องการขนาดความจะที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกฮาร์ดดิสก์ ดังนี้
              1) ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ พิจารณาและคำนวณราคาต่อหน่วยความจำ
              2) ความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล จะมีแบบ UDMA-33 และ UDMA-66 ก็เลือกแบบ UDMA-66 เพราะการส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้เร็วกว่า
              3) ขนาดของ Buffer ที่เห็นมีอยู่ในปัจจุบันก็จะเป็น 512K, 1M และ 2M ยิ่งขนาดมากยิ่งดี (แต่จะแพงขึ้น)

การเลือกซื้อ RAM สำหรับคอมพิวเตอร์
       สำหรับ RAM ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ ขนาดของ RAM ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลในการใช้ งานคอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
            ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
            ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
            ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ 
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

การพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีมีดังนี้
           เราต้องสำรวจสถานภาพและสภาพแวดล้อมของบริษัท ในด้านความพร้อม การใช้งาน และสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อบริษัท สามารถประมวลสรุปสถานภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนี้

สถานภาพด้านอุปกรณ์ ICT โดยการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานไอที สามารถแบ่งออกได้เป็นส่วนๆ ได้แก่
            โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายใน เช่น ด้านอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และโครงข่ายด้าน ICT ต้องพิจารณาในส่วนต่างๆ คือ
            – อุปกรณ์พื้นฐาน ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่อง Server เครื่องพิมพ์ เครื่องควบคุมการสื่อสารข้อมูล รวมทั้งระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น ระบบควบคุมปฏิบัติงาน ระบบบริหารฐานข้อมูล และอื่น ๆ
            – ระบบไอทีที่บริการให้ใช้ร่วมกันทั้งองค์กร (Shared IT Services) เป็นการนำกลุ่มอุปกรณ์พื้นฐานมาจัดทำให้เป็นรูประบบที่สามารถบริการได้ เช่น ระบบฐานข้อมูลลูกค้า หรือฐานข้อมูลพนักงานที่แบ่งกันใช้ได้ หรือระบบอินทราเน็ตที่ให้พนักงานใช้บริการสื่อสารและค้นหาข้อมูลได้ทั่วทั้งองค์กร เป็นการเพิ่มระบบซอฟต์แวร์พื้นฐาน ทำให้อุปกรณ์พื้นฐานให้บริการไอทีที่ใช้ร่วมกันได้
            – ระบบงานที่ให้บริการด้วยงานมาตรฐานที่จำเป็นต้องใช้ทั้งองค์กร เช่น ระบบบัญชี ระบบบริหารบุคลากร ระบบบริหารงบประมาณ เป็นระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องใช้ ระบบงานเหล่านี้ จัดเป็นระบบงานของส่วนกลางที่ให้ใช้ร่วมกัน (Shared and Standard IT Applications) เป็นการเพิ่มชั้นแอปพลิเคชันเพื่อทำงานเฉพาะทางขององค์กร

1. โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายนอก เช่นสถานภาพด้านโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารภายนอกบริษัท
2. สถานภาพด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการประเมินสภาพแวดล้อมทางด้านไอทีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น

            - ประเมินสภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศ

            - พิจารณากลยุทธ์นโยบายปัจจุบันและอดีต

            - การจัดองค์กรของแผนกไอทีและกระบวนการทำงาน

            - สินทรัพย์ ทรัพยากร และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในปัจจุบัน

            - วิธีการในการพัฒนาระบบและฝึกอบรม
3. สถานภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งต้องพิจารณาโดยแบ่งเป็นพนักงานในระดับ
            - ระดับผู้บริหาร
            - ระดับผู้ปฏิบัติงาน
4. สถานภาพบุคลากรว่ามีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาน้อยเพียงใดโดยอาจพิจารณาตามหัวข้อ เช่น
            - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้และบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
            - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล
            - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Internet
            - การใช้งานซอฟต์แวร์พื้นฐาน
            - การใช้งานซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะด้าน

The technology driver of it infrastructure change

            โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศมีทรัพยากรเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกันที่ให้แพลตฟอร์มสำหรับการใช้งานระบบข้อมูลของบริษัท เรื่องโครงสร้างพื้นฐานรวมถึงการลงทุนในฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และบริการดังกล่าวมีการศึกษา consultaning และการฝึกอบรมที่ใช้ร่วมกัน ทั่วทั้งบริษัท หรือหน่วยธุรกิจในบริษัท โครงสร้างพื้นฐานไอทีบริษัทให้รากฐานสำหรับให้บริการลูกค้า ทำงานกับผู้จัดจำหน่าย และการจัดการภายในกระบวนการทางธุรกิจของบริษัท


คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์อม Computer hardware platforms
platform คืออะไร
            แพลตฟอร์ม คือสภาวะแวดล้อมที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง เช่น แพลตฟอร์มเอ็มเแสดอสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู 80486, ยูนิกส์ บนเครื่องซัน SPARC station, System 7 บนเครื่องแมคอินทอช Powerbook 180 เป็นต้น จะเห็นได้ว่าในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน ก็จะมี Platform ที่ต่างกันไปด้วย 
            Platform จะประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ  ,โปรแกรมประสานงานระบบคอมพิวเตอร์ และ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่ง Microchip ของคอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานด้ายตรรกะ และจัดการการเคลื่อนย้ายข้อมูล ระบบปฏิบัติการต้องได้รับการออกแบบให้ทำงานกับคำสั่งของ ไมโครโพรเซสเซอร์ เช่น Microsoft Windows 95 ได้รับการสร้างให้ทำงานกับชุดคำสั่งของ ไมโครโพรเซสเซอร์ของ Intel เพื่อการใช้คำสั่งร่วมกัน นอกจากนี้ ยังหมายถึงส่วนอื่น ๆ เช่น เมนบอร์ด และ บัสของข้อมูล แต่ส่วนเหล่านี้กำลังเพิ่มลักษณะที่เป็นโมดูล และมาตรฐานมากขึ้น ในอดีตโปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรมยังจะเขียนใหม่ให้ทำงานเฉพาะ platform เนื่องจากแต่ละ Platform มีโปรแกรมอินเตอร์เฟซที่ต่างกัน ดังนั้น โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต้องมีการเขียนให้ทำงานกับ Windows ชุดหนึ่ง และทำงานกับ Macintosh อีกชุดหนึ่ง แต่ระบบเปิดหรือมาตรฐานด้านอินเตอร์เฟซยินยอมให้บางโปรแกรมทำงานกับ Platform ที่ต่างกันโดยผ่านโปรแกรมตัวกลาง หรือ broker Programs

แนวโน้มของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์ม (Current Trends In Computer Hardware Platforms)
            แนวโน้มธุรกิจไอทีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการลงทุนด้านไอทีของประเทศไทยขยับขยายไปสู่ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งอย่างเต็มที่บริษัทไอทีเกือบทุกรายล้วนมีแพลตฟอร์มของตัวเองให้บริการกับลูกค้า รวมถึงมีมาตรการจำนวนมากจูงใจให้ลูกค้าหันมาใช้ระบบคลาวด์ของตัวเองเป็นหลัก
            จากนั้นก็ขยายการลงทุนมาสู่ระบบบิ๊กดาต้า หลังจากเรียนรู้การใช้เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกก็พบว่าข้อมูลมหาศาลที่องค์กรมีอยู่นั้นอาจมีแง่มุมบางอย่างที่เอามาใช้ประโยชน์ต่อยอดได้ ซึ่งการจะได้ข้อมูลเหล่านั้นมาจำเป็นต้องอาศัยแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค ผลที่ได้จึงเกิดเป็นโมบายแอพพลิเคชั่นมากมายหลากหลาย โดยเฉพาะด้านการเงินหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ฟินเทค” ซึ่งไม่เพียงอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการทำธุรกรรมต่างๆ แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มใหม่ให้บริการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับธุรกิจหลากหลายประเภท

ประโยชน์ทางธุรกิจทำคราวน์คอมพิวติ้งบริการให้หรือไม่ พวกเขาแก้ปัญหาอะไร
            1. ประหยัดการลงทุนเรื่องทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะเปลี่ยนมาเป็นการเช่าระบบแทน ซึ่งทำให้บริษัทที่มีเงินลงทุนจำกัดสามารถมีระบบสารสนเทศที่ดีใช้ได้เท่า เทียมกับบริษัทอื่นๆ
            2. สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะว่าผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรขนาดใหญ่ไว้รองรับผู้ใช้บริการอยู่ แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องมีระยะเวลาการ ออกแบบระบบ สั่งซื้อฮาร์แวร์ และติดตั้งฮาร์ดแวร์ ซึ่งแค่นี้ก็ลดระยะเวลาดำเนินการไปเป็นเดือนเลยทีเดียว
           3. เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ในกรณีที่ระบบของผู้ใช้บริการมีขนาดใหญ่ขึ้นก็ย่อมต้องขยายทรัพยากรให้เพิ่ม ขึ้นตามการใช้งาน ซึ่งระบบที่เป็นของบริษัทเองคงต้องทำการออกแบบและสั่งซื้อและติดตั้งกัน วุ่นวายเสียเวลา ด้วยการใช้บริการ Cloud computing ก็ทำให้การเพิ่มขนาดทรัพยากรนั้นง่ายและรวดเร็วภายในข้ามคืนเท่านั้น
           4. ขจัดปัญหาเรื่องการดูแลระบบทรัพยากรสารสนเทศ ออกไปให้ผู้ให้บริการ Cloud computing ดูแลแทน จึงทำให้ลดทั้งความยุ่งยากของการดูแลและลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อ ดูแลระบบอีกด้วย

ข้อเสียของการใช้คราวน์คอมพิวติ้ง
         1) จากการที่มีทรัพยากรที่มาจากหลายแห่ง จึงอาจเกิดปัญหาด้านความต่อเนื่องและความรวดเร็ว
         2) ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล
         3) แพลทฟอร์มยังไม่ได้มาตรฐาน  ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ site
         4) เนื่อง จากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการHost ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง

แนวคิดในการวางแผนกำลังการผลิตที่ขยายขีดความสามารถและ TCO ใช้แนวคิดเหล่านี้กับกรณีนี้กับ Amazon และผู้ใช้บริการของตนเอง
            การวางแผนกำลังการผลิตที่ดีจะต้องควบคู่ไปกับการควบคุมกำลังการผลิตที่ดีด้วย เพราะแผนที่วางไว้จำเป็นจะต้องนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปเป็นวัตถุประสงค์ในการวางแผนกำลังการผลิตและควบคุมกำลังการผลิตได้ ดังนี้

วัตถุประสงค์ในการวางแผนและควบคุมกำลังการผลิต
            1. จัดหากำลังการผลิตที่จำเป็นต่อการตอบสนองแผนการผลิตที่วางไว้ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
            2. ดูแลให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
            3. ลดช่วงเวลานำในการผลิต
            4. ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการผลิตของโรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
            5. จัดรวบรวมข้อมูลข่าวสารและผลลัพธ์จากการวางแผนให้กับฝ่ายบริหารเพื่อการตัดสินใจ

Total cost of ownership (TCO) ต้นทุนการเป้นเจ้าของ
            Total cost of ownership เป็นการประมาณการทางการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยการผู้บริหารองค์กรได้ทราบถึงต้นทุนทางตรงและทางอ้อมของระบบหรือสินค้านั้นๆ โดยเป็นแนวคิดของการบริหารบัญชีซึ่งให้บัญชีต้นทุนและใช้เศรษฐศาสตร์มารวมในเรื่องต้นทุนทางสังคม
            ต้นทุนเป็นเรื่องการบริหารอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบ IT ขององค์กรต้องพิจารณา เมื่อเรามีระบบหรือเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่ก็ได้ระบบหรือเทคโนโลยีที่เราต้องดูแล โดยต้องเสียต้นทุนในการดูแล ต้นทุนนั้นคือ ต้นทุนการเป็นเจ้าของ Total cost of ownership โดยเรียกสั้นๆ ว่า TCO
            การที่เรามีคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างน้อยเราต้องคำนึงถึงดูแลรักษาเมื่อมีปัญหาในการดำเนินการ ไม่ว่าจะจาก ไวรัส การโจมตี หรือแม้แต่จากบุคคลเอง โดยใช้คนดูแล หรือซื้ออุปกรณ์ Hardware Sotfware ในการบำรุงรักษา ทำให้ต้องเสียทรัพยากรในการดูแลระบบเหล่านี้

ธุรกิจมีแนวโน้มที่จะได้ประโยชน์จากการใช้คราวน์คอมพิวติ้ง ดังนี้
            ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเพิ่มมากขึ้นและแนวโน้มที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดังกล่าวประกอบด้วยแรงผลักดัน 5 ประการ

1.    1.  แนวโน้มของเว็บที่กลายเป็นสื่อกลางสำหรับการติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลก
            ให้ปัจจุบันเริ่มมีการนำเว็บแอพพลิเคชั่นรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท างานร่วมกันระหว่างบุคลากรในองค์กร เช่น การเลือกใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งในองค์กร เพื่อระดมความคิดของพนักงานผ่านระบบออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ รูปแบบการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปบริหารจัดการและวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งานเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจต่อไป
2.      
          2.  แนวโน้มความต้องการประหยัดพลังงาน
            ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้งในด้านนี้ก็คือ การช่วยองค์กรลดการใช้พลังงาน หรือแม้กระทั่งการนำพลังประมวลผลส่วนเกินที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีก
3.      
       3. ความต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร
            แนวโน้มการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวนี้เอง ถือเป็นการกระตุ้นการนำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ทั้งนี้เพราะการสร้างสรรค์นวัตกรรมสามารถทำได้ด้วยการดึงคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งซึ่งให้พลังการประมวลผลที่เหนือกว่า แต่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง

4.  ความต้องการใช้งานไอทีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน
            ผู้ให้บริการทางด้านไอทีหลายรายในปัจจุบันจึงหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อนำเสนอบริการทางด้านซอฟต์แวร์แบบจ่ายเท่าที่ใช้(Software as a Service) เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าโดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางหรือขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มักมีเจ้าหน้าที่ทางด้านไอทีทำงานอยู่อย่างจำกัดแทนรูปแบบการซื้อซอฟต์แวร์มาใช้โดยตรงแบบในอดีต การใช้งานในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะทำให้การนำไอทีไปใช้งานทำได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้ว องค์กรนั้นๆ
5.       
         5.  การจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

            คุณประโยชน์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งก็คือ ความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมายหลากหลายประเภทให้เป็นระบบ ซึ่งช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำกว่าเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น