วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 6


บทที่ 6
E-commerce : Digital Markets, Digital Goods


E-Commerce (การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)


E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่องค์กรได้วางไว้ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้


E-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน ดังนี้
1.ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
2.ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การขายโดยใช้ระบบ Shopping Cart ทำให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้เองตลอดเวลาผ่านเว็บไซต์
3.เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
4.ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
5.แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
6.แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย

ประเภทของ E-Commerce
1.การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า) เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า
2.การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า)  กับ Business ( ผู้ทำการค้า) เช่น ร้านขายหนังสือค้าต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์
3.การทำการค้าระหว่าง Business ( ผู้ทำการค้า)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน4. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกันเช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคท่านที่สนใจ

อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce
          อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น
           E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คือ
          - การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
          - การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
          - การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
          - บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย

บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce
          เนื่องจากการทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและ

ระบบการชำระเงิน
          E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่สถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปคด้วย

การชำระเงินบน E-Commerce
          จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต
          สำหรับในประเทศไทย   ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้
         1. บริการ internet banking และ/หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
   2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม

ความปลอดภัยกับ E-Commerce
          ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)
          ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ข้อดีของ E-Commerce
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก

ข้อเสียของ E-Commerce
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์และข้อจำกัดของ E-Commerce
1. ต่อบุคคล
- มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย
- ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว
- ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด
- สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง
- ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้ารายอื่นได้
- ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานภายในโซ่มูลค่า (Value Chain Integration)

2. ต่อองค์กรธุรกิจ
                   - ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก
                   - ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ
                   - ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจายการเก็บและการดึงข้อมูลได้ถึงร้อยละ 90
                   - ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะ อินเทอร์เน็ตราคาถูกกว่าโทรศัพท์
                  - ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้
                   - ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. ต่อสังคม
                   - ทำให้คนสามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง ทำให้การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทางอากาศ
                   - ทำให้มีการซื้อขายสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้

4. ต่อระบบเศรษฐกิจ
                   - กิจการ SMEs ในประเทศกำลังพัฒนา อาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก
                   - ทำให้กิจการในประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้

                   - บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ทำให้ต้นทุนการซื้อขายลดลง ทำให้อุปสรรคการเข้าสู่ตลาดลดลงด้วย
                   - ทำให้ประชาชนในชนบทได้หาสินค้าหรือบริการได้เช่นเดียวกับในเมือง
                   - เพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ข้อจำกัดของ E-Commerce
1. ข้อจำกัดด้านเทคนิค
ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ
ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด
ซอร์ฟแวร์ยังกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่างอินเทอร์เน็ตและซอร์ฟแวร์ของ E-Commerce กับแอพพลิเคชั่น
ต้องการ Web Server และ Network Server ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังมีราคาแพงและไม่สะดวก

2. ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตรฐานที่เหมือนกัน และมีลักษณะที่แตกต่างกัน
การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่
ปัญหาเกิดจากการทาธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างจากที่โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่

3. ข้อจำกัดด้านธุรกิจ
วงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) จะสั้นลง เพราะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว การลอกเลียนผลิตภัณฑ์จึงทำได้รวดเร็ว เกิดคู่แข่งเข้ามาในตลาดได้ง่าย จะต้องมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เสมอ
ความพร้อมของภูมิภาคต่าง ๆในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ E-Commerce มีไม่เท่ากัน
ภาษีและค่าธรรมเนียม จาก E-Commerce จัดเก็บได้ยาก ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง
ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce ครบวงจรค่อนข้างสูง เพราะรวมถึงค่า Hardware, Software ที่มีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนค่าจ้างบุคลากร
ประเทศกำลังพัฒนาต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสูงมาก ในโครงสร้างพื้นฐาน
เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดการฟอกเงินได้ง่าย เนื่องจากการใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้การตรวจสอบที่มาของเงินทำได้ยาก

4. ข้อจากัดอื่นๆ
                   - การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเทอร์เน็ต มีมาก และมีการขยายตัวเร็วมากกว่าการพัฒนาของอินเทอร์เน็ตเสียอีก
                   - สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ระบบการจ่ายเงิน หรือการให้ข้อมูลของลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ขายทราบว่าผู้ซื้อเป็นใคร และสามารถใช้ซอร์ฟแวร์ติดตามกิจกรรมต่าง ๆ หรือส่ง Spam ไปรบกวนได้
                   - E-Commerce เหมาะกับระบบเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อถือและไว้ใจได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                   - ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือวิธีการที่ดีของ E-Commerce เช่น การโฆษณาผ่านทาง E-Commerce ว่าได้ผลเป็นอย่างไร
                   - จำนวนผู้ซื้อ / ขาย ที่ได้กำไรหรือประโยชน์จาก E-Commerce ยังมีจำกัด โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรต่างกันมาก และการใช้ E-Commerce ในการซื้อ/ขายสินค้า มีน้อยมาก

10 ข้อควรปฏิบัติเมื่อคุณจะเริ่มต้นทำ ธุรกิจ e-Commerce
ข้อที่ 1 : ชื่อธุรกิจ/ชื่อแบรนด์ ต้องเรียกง่าย จำง่าย และสื่อถึงสินค้าที่ขาย
เริ่มต้นที่การตั้งชื่อธุรกิจ ควรตั้งชื่อให้เรียกง่าย จดจำง่าย และสอดคล้องกับสินค้าออนไลน์ที่คุณจะขาย แต่ถ้าคุณยังทำบนพื้นฐานของธุรกิจเดิม สิ่งที่คุณควรใส่ใจจะกลายเป็นเรื่องชื่อของแบรนด์และภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้า

ข้อที่ 2 : ชื่อโดเมน ต้องสั้น จำง่าย และสื่อถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์
ถัดมาคือชื่อโดเมนก็เป็นเรื่องที่สำคัญสุด ๆ ชื่อควรสั้นและไม่เกิน 3 พยางค์ เรียกง่าย จำง่าย และต้องไม่ลืมไปจัดการเรื่องความปลอดภัยของชื่อโดเมนและเว็บไซต์ของคุณด้วยนะและที่ต้องไม่ลืมคือไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เรียบร้อย เพราะคุณจำเป็นต้องมีตัวตนที่น่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ด้วย

ข้อที่ 3 : ต้องกำหนดรูปแบบโครงสร้างและโมเดลของธุรกิจ e-Commerce ให้ชัดเจน


ต้องกำหนดรูปแบบโครงสร้างและโมเดลของธุรกิจให้ชัดไปเลยว่าธุรกิจคุณเป็น B2B (Business to Business) หรือ B2C (Business to Customer) หรือจะทำมันทั้ง 2 ทาง จากนั้นต้องมากำหนดกลยุทธ์ว่าจะขายให้ B อย่างไร จะขายให้ C อย่างไร และจะส่งเสริมการขายอย่างไรให้ได้ประโยชน์ทั้ง B และ C


ข้อที่ 4 : วางแผนการตลาดให้รัดกุม จากนั้นอย่ารอช้า! ลงมือสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เลย
ลงมือวางแผนการตลาดออนไลน์ หาช่องทางโปรโมทสินค้าตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณอาจสร้างเครือข่ายลูกค้าบน Fan Page ของธุรกิจ e-Commerce ก่อน เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดได้เลย ไม่ต้องรอ แถมยังเป็นการเช็คผลตอบรับในตลาดจริงได้อีกด้วย จากนั้นค่อยแนะนำให้กลุ่มที่สนใจเข้ามายังเว็บไซต์เมื่อทุกอย่างพร้อม

ข้อที่ 5คู่ค้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญ
คู่ค้าตัวจริงที่ใช่ต้องหาให้เจอ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิต, ตัวแทนจำหน่าย, ผู้ให้บริการส่งสินค้า, ธนาคารหรือ Payment Gateway ที่สำคัญผู้พัฒนาระบบธุรกิจออนไลน์แบบมืออาชีพ เพราะพวกเขาเหล่านี้คือส่วนสำคัญในการอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจ หากเลือกผิดอาจน้ำตาตกได้ในภายหลังนะ จะหาว่าผมไม่เตือน

ข้อที่ 6 : ธุรกิจ e-Commerce ต้องมีเว็บไซต์, Facebook และ Line เป็นแค่ช่องทางสื่อสาร ไม่ใช่ทั้งหมดของธุรกิจ
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce Business) หรือ ธุรกิจออนไลน์ (Online Business) จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของธุรกิจเป็นรากฐาน คุณจะไปขายผ่าน Facebook หรือ Line ไม่มีใครว่า แต่ถ้าวันหนึ่งข้างหน้าเค้าอยากเปลี่ยนแปลงนโยบายอะไร คุณก็ต้องยอมรับในการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นนะ เพราะคุณยืมจมูกเค้าหายใจอยู่ แล้วจะรออะไรเล่าทำไมไม่สร้างฐานที่มั่นของคุณไว้ตั้งแต่วันนี้เลย

ข้อที่ 7 : ซอฟต์แวร์ e-Commerce ที่จะเลือกใช้ ต้องรองรับการเติบโตของธุรกิจ
ต้องเลือก ระบบบริหารจัดการร้านค้าอีคอมเมิร์ซ หรือ e-Commerce Platform ที่ใช่ คุณต้องถามตัวเองว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้า คุณมีเป้าหมายอย่างไร ขายได้หลักล้านหรือหลักร้อยล้าน คุณจะขยายธุรกิจไปในทิศทางไหน จากนั้นให้กลับมาพิจารณาที่ซอฟท์แวร์ที่คุณจะเลือกใช้ให้ละเอียดว่ามันรองรับการเติบโตของธุรกิจหรือไม่ และใครหรือบริษัทใดจะเป็นผู้พัฒนาซอฟท์แวร์อีคอมเมิร์ซนี้ให้คุณได้ทั้งในวันนี้ และอนาคตตามเป้าหมายที่คุณวาดไว้

ข้อที่ 8 : จัดการคลังและสต๊อกสินค้าให้ดี มีสินค้าในจำนวนที่เหมาะสม มีระบบโลจิสติกส์ที่ไว้ใจได้
ลงมือจัดการกับระบบคลังสินค้า และปริมาณสินค้าในสต๊อก และต้องทำให้แน่ใจว่าคุณจะมีสินค้าในจำนวนที่เหมาะสม และมี ระบบจัดการโลจิสติกส์ ที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะสามารถส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าทุกรายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

ข้อที่ 9 : ธุรกิจที่ดีต้องตรวจสอบได้ ต้องสามารถมอนิเตอร์ธุรกิจของคุณได้แบบเรียลไทม์

ธุรกิจที่ดีต้องตรวจสอบได้ คำว่าตรวจสอบได้ไม่ใช่เฉพาะเรื่องระบบบัญชีรับ-จ่ายและภาษีอากร แต่คุณจำเป็นต้องรู้ได้ทุกเรื่องทุกเวลา เพราะการที่คุณสามารถมอนิเตอร์ธุรกิจของคุณได้แบบเรียลไทม์นั้น จะช่วยให้คุณเข้าใจปัญหาและจัดการกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที

ข้อที่ 10 : สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรฐาน และเป็นมาตรฐานที่ลูกค้าประทับใจ
ข้อสุดท้ายและเป็นข้อที่สำคัญที่สุด คุณต้องทำให้แน่ใจว่าธุรกิจ e-Commerce ของคุณได้ทำทุกอย่าง ๆ เป็นระบบและมีมาตรฐาน โดยที่คุณไม่ต้องแคร์หรอกว่าจะต้องไปหามาตรฐานอะไรมารับรอง เพียงแค่คุณต้องตระหนักเสมอว่ามาตรฐานที่ดีที่สุดของทุกธุรกิจคือมาตรฐานที่ลูกค้าส่วนใหญ่ประทับใจ

Digital Marketing
Digital Marketing ก็คือการโปรโมทสินค้าหรือแบรนด์ผ่านช่องทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคอย่าง Computer หรือ สมาร์ทโฟน โดยใช้ digital marketing channel เป็นช่องทางในการส่งข้อมูล เมื่อข้อมูลถูกส่งไปแล้ว ผู้ส่งสามารถรู้ผลตอบรับได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้รับข้อความสามารถเข้าถึงข้อความได้จากทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ และสามารถรู้ได้ถึงผลตอบรับจากคนอื่นๆ ที่พูดถึงเกี่ยวกับแบรนด์เราและยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีด้วยแล้วจะยิ่งเกิดการบอกต่อพูดต่อเป็นจำนวนมากและลุกลามไปอย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดกระแสดราม่าต่างๆ ที่ทำให้แบรนด์ได้รับผลกระทบ จึงเป็นสิ่งที่นักการตลาดออนไลน์จะต้องคอยระวังและรับมือกับการทำ digital marketing เพื่อไม่ให้เกิดกระแสดราม่าและมีผลกระทบกับแบรนด์สินค้า หลักการสำคัญของ digital marketing คือ การทำให้ลูกค้ามาแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมกับแบรนด์สินค้าเพื่อให้เกิดการบอกต่อและพูดถึงแบรนด์ นอกจากนี้ digital marketing ยังรวมไปถึงการทำ SEO SEM และการ Seeding ดังนั้นความท้าทายของนักการตลาดออนไลน์คือการเลือกใช้ digital marketing อย่างไรให้ได้ผล และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ digital marketing channel ในแบบต่าง ๆ กัน

ช่องทางในการทำ Digital Marketing
Facebook ถือเป็น social media ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สามารถสร้างกลุ่มคนที่ชอบอะไรเหมือนๆกัน ให้มารวมกันไว้ในเพจสามารถสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม นอกจากนี้ Facebook สามารถสร้างคอนเท้นได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ข้อความ วิดีโอ และรูปภาพ ทำให้หลายคนเลือกที่จะใช้ Facebook ในการติดตามข่าวสารต่างๆ ถือเป็น digital marketing channel ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก
Youtube เป็นอีกหนึ่ง digital marketing channel ที่สามารถสร้างคอนเท้นในรูปแบบของ VDO และมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากนอกจากจะดูคลิปวิดีโอได้แล้ว ยังสามารถสร้าง channel ของตัวเองเพื่อให้คนอื่นได้ติดตามได้อีกด้วย นอกจากนี้ Youtube สามารถแชร์ลิงค์มาที่ Facebook เพื่อเป็นการโปรโมทเพิ่มยอดวิว
Instagram เป็น digital marketing channel ที่มีผู้ใช้เยอะ โดยเฉพาะดารา เซเลบ ต่างๆ มักที่จะใช้ Instragram แทน Facebook เพราะส่วนใหญ่ content จะเป็น รูปภาพ และ วิดีโอ ทำให้สื่อสารได้ง่ายโดยไม่มีข้อความต่างๆที่เราไม่ต้องอ่านขึ้นมารบกวน
E-mail ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุดสมัยของดิจิทัล คงไม่มีใครไม่มี e-mail เป็นของตัวเองเพราะ e-mail เปรียบเหมือนกุญแจที่จะพาทุกท่านเข้ามาสู่โลกอ่อนไลน์ และ e-mail ก็เป็นอีกหนึ่ง digital marketing channel ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่และเป็นการเชื่อมความสัมพันธุ์กลับกลุ่มลูกค้าเก่าได้ และยังช่วยในการโปรโมท digital marketing channel อื่นๆให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น