วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทที่1 บทนำ

ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
           ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดหาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการทำงานและยังสามารถนำสารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือหรือMIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์ การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ตั้งแต่การใช้งานส่วนบุคคล กลุ่ม องค์การ และระหว่างหน่วยงาน MIS ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ


สรุปความหมายตามความเข้าใจ
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดหาคน ในการดำเนินงานขององค์กร ช่วยเหลือกิจกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงาน และยังช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร รวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งการเก็บข้อมูล การประมวลผล และการสร้างสาระสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ช่วยแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยากซับซ้อน และสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจ 


คุณลักษณะที่ดีของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1.ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการทำงาน
2.บุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ MIS เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาและการใช้งานสารสนเทศทั่วองค์การ ตลอดจนการขยาย ตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศและการปรับรูปของระบบงานอย่างต่อเนื่อง
3.การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายขององค์การมากขึ้น
4.ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.สร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ

เหตุใดผู้บริหารจึงควรศึกษาเรื่องของระบบสารสนเทศ
              มีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยเป็นข้อมูลที่มีองค์ประกอบทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางกลยุทธ์นโยบาย ยุทธวิธี ปัญหาเฉพาะหน้า และการควบคุม EIS เน้นการแสดงกราฟิกและง่ายต่อการใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ พวกเขามีการรายงานที่แข็งแกร่งและเจาะลึกลงความสามารถในการ โดยทั่วไป EIS เป็น DSS ทั่วทั้งองค์กรที่จะช่วยให้ผู้บริหารระดับบนสุดวิเคราะห์เปรียบเทียบและเน้นแนวโน้มในตัวแปรที่สำคัญเพื่อให้พวกเขาสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานและระบุโอกาสและปัญหา EIS และข้อมูลเทคโนโลยีคลังสินค้าจะมาบรรจบกันในตลาด ในปีล่าสุด EIS ระยะได้สูญเสียความนิยมในความโปรดปรานของระบบธุรกิจอัจฉริยะ


ประโยชน์ที่ผู้บริหารจะได้รับ
            1.เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต
            2. นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
            3. สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากข้อมูล ถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถจะเข้าถึงข้อมูล ได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ทันต่อความต้องการ
            4. ช่วยในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผล เพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
            5. สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ มี 5 ส่วน ดังนี้
            1. บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้ายขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขายเป็ฯส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ
            2. ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล และ การทำรายงาน เป็นต้น
การดำเนินงานต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหา ระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนล้วนมีผลต่อระบบสารสนเทศด้วยเช่นกัน
            3. ฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการหรือประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศ
            4. ซอฟต์แวร์ คือ ลำดับขั้นตอนที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึง ชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอน (โปรแกรม) เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานและประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เราต้องการ
            5. ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถาบันการศึกษามักจะต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งทีทำให้เกิดสารสนเทศ

มุมองของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Dimensions of Information Systems)
Organizations 
           องค์กรมีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยระดับและความพิเศษที่แตกต่างกันโครงสร้างของพวกเขาเปิดเผยการแบ่งงานชัดเจน  อำนาจและความรับผิดชอบในบริษัท ธุรกิจมีการจัดระเบียบเป็นลำดับชั้น หรือโครงสร้างพีระมิด  ระดับบนของลำดับชั้นประกอบด้วย ผู้จัดการ, พนักงานมืออาชีพ,พนักงานด้านเทคนิค,ในขณะที่ระดับล่างประกอบด้วยบุคลากรที่ปฏิบัติงาน

Management 
           การจัดการคือการทำให้รู้สึกจากหลาย ๆ สถานการณ์ที่องค์กรต้องเผชิญ ตัดสินใจและกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาขององค์กร ผู้จัดการกำหนดกลยุทธ์องค์กรเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายสิเหล่านั้น; และจัดสรรทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางการเงินเพื่อประสานงานและประสบความสำเร็จตลอดจนพวกเขาต้องเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ

Information technology (IT) 
            เทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT ) โครงสร้างพื้นฐานหรือแพลตฟอร์มพื้นฐานที่ บริษัท สามารถสร้างระบบสารสนเทศเฉพาะได้

Computer hardware 
             ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คือ อุปกรณ์ทางกายภาพที่ใช้ป้อนข้อมูล ประมวลผล และเอาต์พุต กิจกรรมในระบบสารสนเทศ ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดและรูปทรงต่าง ๆ  (รวมถึงอุปกรณ์มือถือมือถือ);อุปกรณ์อินพุต, เอาต์พุตและอุปกรณ์จัดเก็บต่าง ๆ และอุปกรณ์โทรคมนาคมที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ด้วยกัน.

Computer software 
              ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยรายละเอียด, คำแนะนำโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีการควบคุม และประสานงานคอมโพเนนต์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ

Data management technology 
              เทคโนโลยีการจัดการข้อมูลประกอบด้วยซอฟต์แวร์การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลทางกายภาพสื่อ, ข้อมูลองค์กรและวิธีการเข้าถึง

Networking and telecommunications technology 
              ระบบเครือข่ายและการสื่อสารโทรคมนาคมเทคโนโลยีประกอบด้วยอุปกรณ์ทั้งทางกายภาพและซอฟแวร์, การเชื่อมโยงชิ้นส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์และการถ่ายโอนข้อมูลจากที่หนึ่งสถานที่ทางกายภาพไปยังอีก คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารสามารถเชื่อมต่อได้เครือข่ายสำหรับแบ่งปันข้อมูลเสียงภาพเสียงและวีดีโอ

            เห็นด้วย เพราะระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีเนื้อหาที่กว้างและครอบคลุมมากกว่า เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับพวกองค์กร การจัดหาคนในการดำเนินงานขององค์กร โดยมีการรวมความรู้ความสามารถของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อทำการสร้างสาระสนเทศในการตัดสินใจขององค์กร และยังมีส่วนประกอบสาระสนเทศที่สำคัญ คือ บุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูล  หากขาดส่วนประกอบใดหรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์

ประเภทของสารสนเทศแบ่งตามระดับการจัดการ
1. ระดับสูง (Top Level Management) 
            กลุ่มของผู้ใช้ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับ ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย  โดยมีทั้งสารสนเทศภายใน และสารสนเทศภายนอก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยรวม ซึ่งระบบสารสนเทศในระดับนี้ต้องออกแบบให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟฟิกบ้าง ต้องตอบสนองที่รวดเร็วและทันท่วงทีด้วยเช่นกัน

2. ระดับกลาง  (Middle Level Management) 
            เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและจัดการองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง นำมาสานต่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้ค่าทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทำนายทิศทางไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีความซับซ้อนหรือยุ่งยากมากเกินไป

3. ระดับปฏิบัติการ (Operation Level Management) 
            ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้การวางแผนหรือระดับการตัดสินใจมากนัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไปประมวลผลในระดับกลางและระดับสูงต่อไป



กระบวนการธุรกิจ (Business Process)
            คือ ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเงินมาลงทุนกิจการเพื่อใช้เป็นค่าเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าแรง ตลอดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานต่างๆ แล้วทำการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออกไป เพื่อให้ได้มาซึ่งรายรับแก่ธุรกิจ หลังจากนั้นจึงนำไปหักค่าใช้จ่ายเพื่อดูผลได้สุทธิว่าได้กำไร


ตัวอย่างด้านการขาย
            ธุรกิจร้านเสื้อผ้า เริ่มตั้งการนำเงินมาลงทุนซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุในการทำเสื้อของทางร้านเปิดรับสมัครพนักงานที่มีทักษะในการตัดเย็บเสื้อ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน ทำการตัดเย็บเสื้อตามรูปแบบของทางร้านเพื่อทำการวางจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค หลังจากนั้นจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำการหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อหาผลกำไรและขาดทุนของทางร้าน

ระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย
1. ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
2.สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
3.การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ

             การทำงานร่วมกัน (Collaboration)  คือการร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน เป็นกระบวนการที่วนเกิดขึ้นซ้ำ ๆระหว่างกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างข้อตกลง ตัดสินใจ แก้ไขปัญหาร่วมกัน อีกทั้งยังมีการร่วมใจ ทัศนคติ ความตั้งใจ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานร่วมกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกันการทำงานร่วมกันทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแชร์และเป้าหมายที่ชัดเจน การทำงานร่วมกันเน้นภารกิจหรือภารกิจความสำเร็จและมักจะเกิดขึ้นในธุรกิจหรืออื่น ๆองค์กรและระหว่างธุรกิจ

             เครือข่ายสังคมธุรกิจ (Social Business) คือธุรกิจเพื่อสังคม - การใช้แพลตฟอร์มเครือข่ายทางสังคม,
รวมทั้ง Facebook, Twitter และสังคมภายในองค์กรเครื่องมือเพื่อดึงดูดพนักงานลูกค้าของพวกเขาและ
ซัพพลายเออร์ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้คนงานสามารถตั้งค่าโปรไฟล์,กลุ่มแบบฟอร์มและ "ติดตาม" การอัพเดตสถานะของกันและกัน เป้าหมายของธุรกิจเพื่อสังคมคือการเพิ่มความสัมพันธ์กับกลุ่มภายในและภายนอก บริษัท เพื่อเร่งรัดและเพิ่มการแบ่งปันข้อมูลนวัตกรรมและการตัดสินใจ

มีการจัดแบ่งกลุ่มของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ดังนี้
Social networks  เชื่อมต่อผ่านโปรไฟล์ส่วนบุคคลและธุรกิจเครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคมเป็นการบริการที่เชื่อมโยงคนหลายคนเข้าไว้ด้วยกันผ่านอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแชท ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก ตัวอย่างของ Social Network ได้แก่ Facebook Twitter Hi5 Blogger เป็นต้น

Crowsourcing  ใช้ความรู้โดยรวมเพื่อสร้างแนวคิดและแนวทางใหม่ ๆการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่  เป็นการทำงานที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนจำนวนมาก เกิดจากการที่เรามีไอเดียหรือปัญหาที่ยากจะทำสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว โดยอาจจะขาดเงินทุนสนับสนุน หรือแรงงานที่จะช่วยในการทำให้สำเร็จ เราก็สามารถแบ่งงานเหล่านั้นออกเป็นชิ้นเล็กๆ และกระจายให้กลุ่มคนหลายๆ คนทำพร้อมๆ กัน ให้เขาแก้ปัญหาเล็กๆ ให้เรา เมื่อทุกคนต่างทำงานเล็กๆ ของตนสำเร็จแล้ว ก็หมายถึงว่างานชิ้นใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากงานชิ้นเล็กๆ เหล่านั้นก็จะประสบความสำเร็จไปด้วย

Shared workspaces ประสานงานโครงการและงานสร้างเนื้อหาร่วมกันคือการที่กลุ่มคนจากต่างสาขาอาชีพมารวมตัวกันและทำงานในพื้นที่เดียวกัน การทำงานในลักษณะนี้แตกต่างจากการทำงานในบริษัทหรือองค์กรโดยทั่วไป ก็คือ ทุกคนต่างคนต่างทำงานของตัวเอง เพียงแต่แบ่งปันพื้นที่ในการทำงานร่วมกันเท่านั้น การรวมตัวกันในพื้นที่ทำงานชั่วคราวแล้ว ยังอาจหมายถึงชุมชนย่อม ๆ ที่เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันของคนทำงานจากหลายสาขาอาชีพได้อีกด้วย

Blogs and wikis เผยแพร่และเข้าถึงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว หารือเกี่ยวกับความคิดเห็นและประสบการณ์
            -Blog เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงค์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่าง ๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอเป็นที่ ๆ บอกเล่าประสบการณ์ หรือความคิดของผู้เขียนมักจะมีเจ้าของblogเพียงคนเดียว บล็อคจะมีเนื้อหาคลอบคลุมไปด้านใดด้านหนึ่งที่ผู้เขียนบล็อคนั้นสนใจ โดยผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีพื้นที่ไว้สำหรับบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ งานอดิเรก หรือสิ่งที่ชื่นชอบให้แก่ผู้อื่นฟัง และสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เข้ามาอ่านเรื่องราวของเราได้    
            -Wiki เป็นสังคมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ผู้เข้ามาใช้งานสามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้ทุกเวลา wiki เป็นเหมือนคลังความรู้ออนไลน์ ที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมความรู้จากผู้รู้ หลายคน มาเก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน ซึ่งผู้ใช้งานรายอื่น ๆ สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้  แต่แสดงความคิดเห็นไม่ได้ วิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน

Social commerce แชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อหรือซื้อบนแพลตฟอร์มโซเชียล Social Media ในมุมมองที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce การแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับการซื้อบนแพลตฟอร์มของสังคมออนไลน์หรือการทำธุรกิจโดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Social Activity บนโลกออนไลน์ Social Commerce เป็นธุรกรรมเชิงพาณิชย์ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย

File sharing อัพโหลดแชร์และแสดงความคิดเห็นในรูปภาพวิดีโอเสียงข้อความเอกสาร ระบบการแชร์ไฟล์บน Windows ที่จะทำให้เราสามารถแชร์ไฟล์ต่าง ๆ อัพโหลด และแบ่งปันการใช้งานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเอกสาร รูปภาพ วีดีโอ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ถูกเก็บไว้จากศูนย์กลางที่เดียว คอยให้บริการกับ Client User เข้าไปใช้งานโดยที่ไม่ต้องเก็บไว้กับเครื่องตนเอง และยังสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์หรือโฟลเดอร์เหล่านั้นได้อีกด้วย

Social marketingใช้โซเชียลมีเดียเพื่อโต้ตอบกับลูกค้า ได้รับมาการตลาดรูปแบบนี้คือการสร้างสรรค์สังคม หรือการแบ่งส่วนของผลประกอบการเข้าเพื่อเข้าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรอบทั้งในถิ่นที่ตั้งอยู่หรือแม้กระทั้งสังคมโลกก็ตาม การทำการตลาดบนสื่อออนไลน์ คนส่วนใหญ่จะเข้าถึงได้ง่าย การเข้าถึงกลุ่มบุคคลที่สนใจในตัวสินค้าหรือบริการแบบตัวต่อตัว โดยที่เจ้าของกิจการสามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลผ่านทาง Social Media ได้เหมือนผู้ซื้อได้พูดคุยสอบถามข้อมูลกับเจ้าของร้านโดยตรงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

Communities อภิปรายหัวข้อในเรื่องการเปิดฟอรัม แบ่งปันความรู้ความชำนาญ
ธุรกิจจะได้ประโยชน์ดังนี้
•ด้านผลผลิต คนที่มีปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกันสามารถจับภาพความรู้และผลผลิตของผู้เชี่ยวชาญได้ แก้ปัญหาได้เร็วกว่าจำนวนคนที่ทำงานแยกกัน จะมีข้อผิดพลาดน้อยลง
•ด้านคุณภาพ คนที่ทำงานร่วมกันสามารถแจ้งข้อผิดพลาดและแก้ไขคุณภาพได้การกระทำได้เร็วกว่าถ้าพวกเขาทำงานแยกกัน ทำงานร่วมกันและใช้เทคโนโลยีทางสังคมช่วยลดความล่าช้าในการออกแบบและผลิต
•ด้านนวัตกรรม คนที่ทำงานร่วมกันสามารถเกิดแนวคิดใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ผลิตภัณฑ์บริการและการบริหารจัดการมากกว่าจำนวนเดียวกันการแยกกันทำงาน ข้อดีของความหลากหลายและภูมิปัญญาของฝูงชน "
•ด้านการบริการลูกค้า คนที่ทำงานร่วมกันโดยใช้ความร่วมมือและเครื่องมือทางสังคมสามารถแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนและปัญหาของลูกค้าที่ให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่ากรณีที่พวกเขากำลังทำงานแยกออกจากกัน ประสิทธิภาพทางการเงิน
 •ด้านประสิทธิภาพทางการเงิน  การทำกำไร การขาย การเติบโตของยอดขาย
อันเป็นผลมาจากทั้งหมดข้างต้น บริษัท ที่ทำงานร่วมกันมียอดขายที่เหนือกว่ายอดขาย ความสามารถในการทำกำไรการขายและการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพทางการเงิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น